วรรณกรรมเป็นงานเขียนที่แต่งขึ้นจากการคิดและจินตนาการ แล้วนำมาเรียบเรียง บอกเล่าหรือบันทึก วรรณกรรมมีความครอบคลุมถึงนิทาน ตำนาน เรื่องเล่า เรื่องสั้น
นวนิยาย บทเพลง ทำให้เราเข้าใจถึงความคิด วัฒนธรรม และความเชื่อผ่านเนื้อหาสาระและแนวความคิด มีลักษณะกระตุ้นหรือชักจูงให้ผู้อ่านเกิดความคิดในแง่ต่าง ๆ
การอ่านวรรณกรรมต้องจับประเด็นสำคัญ และคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล พิจารณาหาความรู้ ข้อคิด หรือคติสอนใจให้ได้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง
ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)
- บอกหลักการระบุความรู้และข้อคิดจากวรรณกรรมที่อ่านได้
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
- ระบุความรู้และข้อคิดจากวรรณกรรมที่อ่านได้
ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)
- มีนิสัยรักการอ่าน
สิ่งที่ต้องการวัด/ประเมิน |
วิธีการ |
เครื่องมือ |
เกณฑ์การประเมิน |
---|---|---|---|
ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K) - บอกหลักการระบุความรู้และข้อคิดจากวรรณกรรมที่อ่าน |
- สังเกตการตอบคำถามของนักเรียน |
- คำถามสำคัญ |
ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป |
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P) - ระบุความรู้และข้อคิดจากวรรณกรรมที่อ่าน |
- ตรวจใบงานที่ ๘ ระบุความรู้และข้อคิดจากวรรณกรรมที่อ่าน |
- แบบประเมิน การระบุความรู้และข้อคิดจากการอ่าน |
ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป |
คุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A) - มีนิสัยรักการอ่าน |
- สังเกตพฤติกรรม
|
- แบบประเมิน |
ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป |
สมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน - ความสามารถในการสื่อสาร (๑.๑) พูดและเขียนถ่ายทอดความรู้และข้อคิดจากวรรณกรรมที่อ่านอย่างเป็นเหตุเป็นผล และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน |
- ประเมินการระบุความรู้และข้อคิดจากการอ่าน |
- แบบประเมินสมรรถนะด้าน การคิด |
ผ่านเกณฑ์ ระดับคุณภาพ “ผ่าน” |
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ - ใฝ่เรียนรู้ - มุ่งมั่นในการทำงาน |
สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน |
แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ |
ผ่านเกณฑ์ ระดับคุณภาพ “ผ่าน” |