ตัวต้านทานเป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่มีขั้ว ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า โดยเมื่อค่าความต้านทานสูงขึ้น ปริมาณกระแสไฟฟ้าในวงจรจะมีค่าลดลง ซึ่งค่าความต้านทานจะมีหน่วยเป็นโอห์ม (Ω) ซึ่งตัวต้านทานแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
ตัวต้านทานทำหน้าที่ควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้าในวงจร โดยเมื่อค่าความต้านทานสูงขึ้น ปริมาณกระแสไฟฟ้าในวงจรจะมีค่าลดลง ซึ่งค่าความต้านทานจะมีหน่วยเป็นโอห์ม (Ω)
ตัวต้านทานแปรค่าได้เป็นตัวต้านทานที่มีค่าความต้านทานไฟฟ้าสามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการหมุนปุ่มปรับค่าเพิ่มหรือลดค่าความต้านทานไฟฟ้าที่ต้องการ ตัวต้านทานแปรค่าได้ใช้สัญลักษณ์ในวงจรไฟฟ้าคือ หรือ
นำไปใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าในลักษณะปุ่มหมุนเพื่อปรับลดหรือเพิ่มความต้านทานไฟฟ้า เช่น ปุ่มปรับความดังของเสียงในเครื่องเสียง ปุ่มปรับความร้อนของเตารีด
7.1 จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
- อธิบายหน้าที่ของตัวต้านทานในวงจรไฟฟ้า
ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- การสังเกต โดยสังเกตรูปร่างลักษณะของตัวต้านทาน และการเปลี่ยนแปลงของหลอดไฟฟ้าเมื่อต่อตัวต้านทานในวงจรไฟฟ้า
- การวัด โดยการใช้แอมมิเตอร์วัดค่ากระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า พร้อมทั้งระบุหน่วย
- การสร้างแบบจำลอง โดยใช้ภาพข้อความและสัญลักษณ์ เพื่อเขียนแผนภาพแสดงการต่อตัวต้านทานในวงจรไฟฟ้า
- การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยแปลความหมายข้อมูลและสรุปเกี่ยวกับ หน้าที่ของตัวต้านทานในวงจรไฟฟ้า
ด้านจิตวิทยาศาสตร์
- ความอยากรู้อยากเห็น โดยกระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัยในการทำกิจกรรม
- วัตถุวิสัย โดยแปลความหมายข้อมูลให้สอดคล้องกับหลักฐานอย่างเที่ยงตรง
- ความมุ่งมั่นอดทน ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐาน นำ ไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป
สมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
- การจัดการตนเอง โดยระบุเป้าหมายการทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบภายในกลุ่ม ทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง และบริหารจัดการงานและเวลา
- การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเกี่ยวกับหน้าที่ของตัวต้านทานในวงจรไฟฟ้า
วิธีการ
1. ตอบคำถามในใบงาน เกี่ยวกับหน้าที่ของตัวต้านทานคงที่ในวงจรไฟฟ้าอย่างถูกต้อง
2. การตอบคำถามในใบงานเกี่ยวกับหน้าที่ของตัวต้านทานแปรค่าได้ในวงจรไฟฟ้าอย่างถูกต้อง
3. การสังเกต จากการบันทึกผลการทำกิจกรรม โดยสังเกตรูปร่างลักษณะของตัวต้านทาน และการเปลี่ยนแปลงของหลอดไฟฟ้าเมื่อต่อและไม่ต่อตัวต้านทานในวงจรไฟฟ้า และไม่ลงความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป
4. การวัด จากการบันทึกผลการทำกิจกรรม โดยใช้แอมมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าออกมาเป็นตัวเลขได้ถูกต้องและรวดเร็ว พร้อมทั้งระบุหน่วยของการวัดได้ถูกต้อง
5. การสร้างแบบจำลอง จากการบันทึกผลการทำกิจกรรมในใบงาน โดยใช้ภาพ ข้อความ และสัญลักษณ์เพื่อเขียนแผนภาพอธิบายการต่อตัวต้านทานในวงจรไฟฟ้าให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง
6. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการตอบคำถามในใบงาน โดยแปลความหมายข้อมูลและสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่ของตัวต้านทานในวงจรไฟฟ้าได้
7. ความอยากรู้อยากเห็นจากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความอยากรู้อยากเห็นในการทำงานระหว่างทำกิจกรรม
8. วัตถุวิสัย จากการบันทึกผลการทำกิจกรรมและการตอบคำถามในใบงาน
9. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการตอบคำถามในใบงาน โดยแปลความหมายข้อมูลและสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่ของตัวต้านทานในวงจรไฟฟ้าได้
10. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความอยากรู้อยากเห็นในการทำงานระหว่างทำกิจกรรม
11. วัตถุวิสัย จากการบันทึกผลการทำกิจกรรมและการตอบคำถามในใบงาน
12. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความมุ่งมั่นอดทนในการทำงานระหว่างทำกิจกรรมและความสำเร็จของการทำงาน
13. การจัดการตนเอง จากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงานและการบันทึกผลการทำกิจกรรมที่สะท้อนการเข้าใจเป้าหมายการทำงาน รับผิดชอบการทำงานของตนเองตามบทบาทหน้าที่ภายในกลุ่ม มีวินัยในการทำงานจนบรรลุเป้าหมายที่ตนเองได้รับ
14. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงาน ซึ่งเกิดจากการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเกี่ยวกับหน้าที่ของตัวต้านทานในวงจรไฟฟ้าที่สะท้อนความสัมพันธ์ของข้อมูลหรือหลักฐานได้
เครื่องมือ
1. ใบกิจกรรมที่ 2 ตัวต้านทานแปรค่าได้ทำหน้าที่อะไรในวงจรไฟฟ้า
2. ใบงานที่ 2 ตัวต้านทานแปรค่าได้ทำหน้าที่อะไรในวงจรไฟฟ้า