สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า เป็นบทประพันธ์ที่พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้แต่งเป็นรูปแบบกลอนดอกสร้อย โดยนำเนื้อหาหลักมาจากกวีนิพนธ์เรื่อง Elegy Written in a Country Churchyard ของทอมัส เกรย์ (Thomas  Gray) ซึ่งมีเสฐียรโกเศศเป็นผู้แปลจากฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยอีกทอดหนึ่ง กวีนิพนธ์ดังกล่าวมุ่งเน้นให้เห็นความจริงเกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์ ใช้กลวิธีการแต่งแบบดัดแปลงให้เข้าธรรมเนียมไทย เมื่อนักเรียนศึกษาแล้วจะทราบความสำคัญ ภูมิหลัง ผู้แต่งของกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า อันจะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและซาบซึ้งในคุณค่าของวรรณคดีไทยต่อไป

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

          ท ๕.๑ ม.๒/๓ อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน

ท ๕.๑ ม.๒/๔ สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่าน ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

              ๑. บอกที่มา ผู้แต่ง และความสำคัญของกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าได้     

๒. บอกลักษณะคำประพันธ์ของกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าได้     

ด้านทักษะกระบวนการ

                    ๑. นักเรียนสามารถบอกภูมิหลังและลักษณะคำประพันธ์ของกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าได้

- คุณลักษณะอันพึงประสงค์

                    ๑. ใฝ่เรียนรู้

                    ๒. รักความเป็นไทย

- คุณลักษณะเฉพาะ (ของแต่ละวิชา)

                    ๑. เห็นคุณค่าของวรรณคดีไทย

                    ๒. เข้าใจลักษณะบทร้อยกรองไทย

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

๑. มีความสามารถในการสื่อสาร

๒. มีความสามารถในการคิด

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- คำถาม     

- ใบงานเรื่อง ภูมิหลังกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

เครื่องมือ

               - คำถามกระตุ้นความคิด  

             - เกณฑ์การประเมิน ใบงานเรื่อง ภูมิหลังกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สื่อความเห็นเน้นกระบวนการ
ชั่วโมง สื่อความเห็นเน้นกระบวนการ
เรื่อง ดอกสร้อย ร้อยกรอง (4) 27 ก.พ. 68 (มีใบงาน ใบความรู้)