สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

เสียงที่ดังมาก ๆ หรืออาจไม่ดังมากแต่ก่อให้เกิดความรำคาญจัดเป็นมลพิษทางเสียง ทั้งนี้ เราสามารถใช้ข้อมูลระดับเสียง

ที่วัดได้จากแหล่งกำเนิดเสียงหรือจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันมาวิเคราะห์เพื่อระบุมลพิษทางเสียง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

มาตรฐาน ว 2.3 ตัวชี้วัด  ป.5/4   วัดระดับเสียงโดยใช้เครื่องมืดวัดระดับเสียง

                                   ป.5/5   ตระหนักในคุณค่าของความรู้เรื่องระดับเสียง โดยเสนอแนะแนวทางในการหลีกเลี่ยงและลดมลพิษทางเสียง

 จุดประสงค์

1. จับใจความสำคัญจากการอ่านใบความรู้เกี่ยวกับระดับเสียงและมลพิษทางเสียง

2. วัดระดับเสียงในบริเวณต่าง ๆ ของโรงเรียน โดยใช้เครื่องมือวัดระดับเสียง

3. ความรับผิดชอบ ความมุ่งมั่น อดทน และเพียรพยายาม

การวัดผลและประเมินผล

1. สังเกตการตอบคำถามในชั้นเรียนและเนื้อหาในใบงาน

2. สังเกตทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการทำกิจกรรม

3. สังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยที่ 5 ชื่อหน่วย เสียง
ชั่วโมง เสียง
เรื่อง มลพิษทางเสียงเป็นอย่างไร (1) 8 ม.ค. 68 (มีใบงาน ใบความรู้ และใบกิจกรรม)