สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัสจะมีผลต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุโดยอาจทำให้วัตถุเกิดการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ สามารถนำผลที่เกิดขึ้นต่อวัตถุจากแรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัสไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว2.2 ป.3/1 ระบุผลของแรงที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุจากหลักฐานเชิงประจักษ์

ว2.2 ป.3/2 เปรียบเทียบและยกตัวอย่างแรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัสที่มีต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

ว2.2 ป.3/3 จำแนกวัตถุโดยใช้การดึงดูดกับแม่เหล็กเป็นเกณฑ์จากหลักฐานเชิงประจักษ์

ว2.2 ป.3/4 ระบุขั้วแม่เหล็กและพยากรณ์ผลที่เกิดขึ้นระหว่างขั้วแม่เหล็กเมื่อนำมาเข้าใกล้กันจากหลักฐานเชิงประจักษ์

 จุดประสงค์

1.อธิบายเกี่ยวกับวิธีการทำให้ตัวละครเคลื่อนที่โดยใช้ผลของแรง

2. แสดงความคิดเห็นอย่างมีหลักฐานหรือข้อมูลมาสนับสนุน

การวัดผลและประเมินผล

1. ประเมินความรู้เรื่องวิธีการทำให้ตัวละครเคลื่อนที่โดยใช้ผลของแรง โดยการสังเกตการตอบคำถามในชั้นเรียนและเนื้อหาในใบงาน

2. ประเมินการแสดงความคิดเห็นอย่างมีหลักฐานหรือข้อมูลสนับสนุนด้วยแบบประเมินคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยที่ 2 แรง
ชั่วโมง แรง
เรื่อง ร่วมแรงแปลงร่างนิทาน (4) 2 ก.ย. 67 (มีใบงาน)