สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถนับถือศาสนาอะไรก็ได้ ตามความเชื่อและความต้องการของตนเอง โดยจะต้องไม่ไปเบียด เบียนผู้อื่น ไม่เพียงแค่นั้นยังเปิดโอกาสให้ศึกษาแนวคิด ความเชื่อ ประวัติของศาสนาอื่นได้ทั้งนี้ อีกหนึ่งศาสนาที่ถือว่ามีความน่าสนใจอย่างมาก นั่นคือ ศาสนาฮินดู

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ส 1.1 ม.๓/10    วิเคราะห์ความแตกต่างและยอมรับวิถีการดำเนินชีวิตของศาสนิกชนในศาสนาอื่น ๆ

จุดประสงค์การเรียนรู้

-  ด้านความรู้  

  1. อธิบายความเป็นมาและความสำคัญของศาสนาฮินดูในฐานะศาสดาของศาสนาสากลได้ถูกต้อง

-  ด้านทักษะกระบวนการ

  1. ประยุกต์ใช้หลักศาสนาฮินดูตามที่ตนเองนับถือกับการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

-  ด้านคุณลักษณะคุณลักษณะอันพึงประสงค์

  1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
  2. ใฝ่เรียนรู้
  3. มุ่งมั่นในการทำงาน

-  คุณลักษณะเฉพาะ

  1. เห็นความสำคัญของศาสดาของศาสนาฮินดูในฐานะของศาสนาสากลของโลกโดยสามารถอธิบายปรากฏารณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวได้

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการวัด

-  ตั้งคำถามนำและให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย

เครื่องมือวัด

- ใบงานที่ 33 เรื่อง ที่มาของศาสนาฮินดู

- แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง สร้างนครแห่งสันติสุข
ชั่วโมง สร้างนครแห่งสันติสุข
เรื่อง ที่มาของศาสนาฮินดู 18 ก.ย. 67 (มีใบงาน ใบความรู้)