สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าที่มีทิศกลับไปกลับมา ส่งผลให้มีการเหนี่ยวนำของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่มีการเปลี่ยนแปลงกลับไปมา ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของสนามทั้งสองแผ่ออกไปจากแหล่งกำเนิดซึ่งมีความถี่แบ่งออกเป็นช่วง ๆ ตามการรับรู้หรือการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เรียกว่า สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยแต่ละช่วงความถี่มีชื่อเรียกต่างกัน โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแต่ละช่วงจะมีประโยชน์และอันตรายต่างกัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- อธิบายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

- บอกประโยชน์และอันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          - การแปลความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยแปลความหมายข้อมูลจากการสืบค้นและการอภิปราย เพื่อลงข้อสรุปได้เกี่ยวกับการเกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สเปกตรัมของคล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้า รวมถึงประโยชน์และโทษของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

          - วัตถุวิสัย โดยแปลความหมายข้อมูลให้สอดคล้องกับหลักฐานอย่างเที่ยงตรง

          - ความอยากรู้อยากเห็น โดยกระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัยในการทำกิจกรรม

          - ความมุ่งมั่นอดทน โดยตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐานนำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

           - การจัดการตนเอง โดยระบุเป้าหมายการทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ ทำงานตามบทบาทหน้าที่ และบริหารจัดการงานและเวลา

          - การรวมพลังทำงานเป็นทีม โดยมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานเป็นทีม มีการสะท้อนการทำงานและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงาน

          - การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยใช้ความรู้เรื่องคลื่นเพื่ออธิบายปรากการณ์ที่กำหนดให้

          - การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรมหรือการสืบค้นและลงข้อสรุปเกี่ยวกับการเกิดคลื่น ประเภทของคลื่น และปริมาณที่บรรยายคลื่น คลื่นกลหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

การวัดผลและประเมินผล

 วิธีการ

          1. การนำเสนอ หรือแสดงความเห็นสื่อสารเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ถูกต้อง

          2. การตอบคำถาม ในใบงานอธิบายเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ได้ถูกต้อง
          3. การตอบคำถามในใบงาน ว่าได้แปลความหมายข้อมูล และสร้างข้อสรุปจากความ สัมพันธ์ของข้อมูล

         4. การบันทึกผลและการตอบคำถามในใบงานที่สะท้อนความสอดคล้องของหลักฐานและการแปลความหมายที่เที่ยงตรง

         5. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็นในการทำงานและผลของทำกิจกรรม

         6. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงความมุ่งมั่นอดทนเพื่อทำงานระหว่างกิจกรรม และทำให้งานประสบความสำเร็จ

          7. การสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงาน และการบันทึกผลการทำกิจกรรม ที่สะท้อนความเข้าใจเป้าหมายของงาน รับผิดชอบภาระงาน บทบาทและหน้าที่ของตนเอง และมีวินัยในการทำงาน

          8. การสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงานและการบันทึกผลกิจกรรม ที่สะท้อนการมีส่วนร่วมในกระบวนการจนบรรลุเป้าหมาย รวมถีงมีส่วนร่วมในการประเมินและปรับปรุงการทำงาน ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างภายในกลุ่ม      

           9. การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากตั๋วออก ซึ่งต้องใช้ความรู้เรื่องคลื่นเพื่ออธิบายปรากฎการณ์ในชีวิตประจำวันหรือปรากฎการณ์ธรรมชาติ 

          10. การตอบคำถามในใบงาน ที่วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สะท้อนความสัมพันธ์ของข้อมูลกับหลักฐาน

เครื่องมือ

          1. ใบกิจกรรมที่ 3 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นอย่างไร

          2. ใบงานที่ 3 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นอย่างไร

          3. ใบงานที่ 4 แบบฝึกหัดเรื่องคลื่น

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง แสง
ชั่วโมง แสง
เรื่อง คลื่นกลและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (3) 9 ก.ค. 67 (มีใบงาน ใบความรู้)