สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การคัดลายมือ คือ เป็นการฝึกเขียนตัวอักษรไทยให้ถูกต้องตามหลักการคัดไทย คือ เขียนให้อ่านง่าย มีช่องไฟ มีวรรคตอน การคัดลายมือมีทั้งตัวบรรจงเต็มบรรทัดและตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ซึ่งรูปแบบที่ใช้ในงานเขียนทางการจะใช้รูปแบบตัวอักษรของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อนักเรียนเรียนรู้และฝึกทักษะแล้วจะทำให้ลายมือของนักเรียนสวยงามและเป็นระเบียบมากขึ้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

  1. อธิบายหลักการคัดลายมือได้
  2. อธิบายลักษณะของการคัดลายมือต่าง ๆ ได้

ด้านทักษะกระบวนการ

  1. คัดลายมือจากงานเขียนประเภทต่าง ๆ ได้

ด้านคุณลักษณะ

 - คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้

             2. มุ่งมั่นในการทำงาน

การวัดผลและประเมินผล

 วิธีการ

- ตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันตอบ

- การตรวจใบงานที่ ๑๑  เรื่อง ลิขิตเขียนฝึกบรรจง

เครื่องมือ

- คำถาม

- ใบงาน

- ใบความรู้

             - แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สังเกตสื่อบันทึกสาร
ชั่วโมง สังเกตสื่อบันทึกสาร
เรื่อง ลำนำบันทึก (3) 4 ต.ค. 66 (มีใบงาน ใบความรู้)