สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 การเขียนบรรยาย คือ การเขียนเล่าเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพเหตุการณ์ ช่วงเวลา สถานที่บุคคล สภาพแวดล้อม ตลอดจนเหตุและผลที่เกิดเหตุการณ์นั้น ๆ

สามารถบรรยายได้หลายรูปแบบ เช่น การเล่าเรื่อง การเล่าเหตุการณ์ การเขียนชีวประวัติ การรายงานข่าว เป็นต้น ซึ่งภาษาที่ใช้ควรเป็นภาษากึ่งทางการ ใช้ภาษาอย่างมีศิลปะ มีความเหมาะสม

สื่อความหมายได้ดี ผู้อ่านอ่านแล้วเข้าใจ เมื่อนักเรียนเรียนรู้แล้วจะทำให้มีทักษะในการเขียนบรรยาย และการเขียนเรื่องราวที่ถูกต้องและเหมาะสม ไม่วกไปวนมา

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

  1. อธิบายลักษณะการใช้ภาษาในการเขียนบรรยายได้       

ด้านทักษะกระบวนการ

  1. เขียนบรรยายเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันได้

ด้านคุณลักษณะ

 - คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ซื่อสัตย์สุจริต

2. ใฝ่เรียนรู้                                                    

3. มุ่งมั่นในการทำงาน

- คุณลักษณะเฉพาะ

1. มีวิจารณญาณในการรับสาร

2. มีคุณธรรมในการโน้มน้าวใจ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- ตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันตอบ

- การตรวจใบงานที่ ๑ เรื่อง เล่าเรื่องบรรยายเหตุการณ์

เครื่องมือ

- คำถาม

- ใบงาน

- ใบความรู้

  - แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สังเกตสื่อบันทึกสาร
ชั่วโมง สังเกตสื่อบันทึกสาร
เรื่อง โวหารวรรณศิลป์ (1) 8 ก.ย. 66 (มีใบงาน ใบความรู้)