สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ไดโอดเป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขั้วทำให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ทางเดียว โดยกระแสไฟฟ้าจะผ่านได้เมื่อต่อขั้วบวกของไดโอดเข้าทางขั้วบวกของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า และต่อขั้วลบของไดโอดเข้าทางขัวลบของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า โดยขั้วบวกของไดโอดเรียกว่า ขั้วแอโนด และขั้วลบของไดโอดเรียกว่าแคโทด ทั้งนี้สังเกตขั้วของไดโอดได้จากแถบคลาดสีที่ปลายหนึ่งซึ่งแสดงขาลบ และขาด้านตรงข้ามคือขาบวก สัญลักษณ์ของไดโอดในวงจรไฟฟ้า คือ

นอกจากนี้ยังมีไดโอดที่สว่างได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่าน เรียกว่า ไดโอดเปล่งแสง (LED) ใช้สัญลักษณ์ในวงจรไฟฟ้าคือ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- อธิบายหน้าที่ของไดโอดในวงจรไฟฟ้า

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          - การสังเกต โดยสังเกตรูปร่างลักษณะของไดโอดและการเปลี่ยนแปลงของวงจรไฟฟ้าเมื่อต่อไดโอดในวงจรไฟฟ้า

          - การสร้างแบบจำลอง โดยใช้ภาพข้อความและสัญลักษณ์ เพื่อเขียนแผนภาพแสดงการต่อไดโอดในวงจรไฟฟ้า      - การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยแปลความหมายข้อมูลและสรุปเกี่ยวกับ หน้าที่ของไดโอดในวงจรไฟฟ้า

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

          - ความอยากรู้อยากเห็น โดยกระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัยในการทำกิจกรรม

          - วัตถุวิสัย โดยแปลความหมายข้อมูลให้สอดคล้องกับหลักฐานอย่างเที่ยงตรง

          - ความมุ่งมั่นอดทน ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐาน นำ ไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป

สมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

          - การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรมและลงข้อสรุปเกี่ยวกับหน้าที่ของไดโอดในวงจรไฟฟ้า

         

 

 

 

 

 

 

 

 

การวัดผลและประเมินผล

8.การประเมินผล

          8.1 วิธีการ

1. ตอบคำถามในใบงาน เกี่ยวกับหน้าที่ของไดโอดในวงจรไฟฟ้าอย่างถูกต้อง

2. การสังเกต จากการบันทึกผลการทำกิจกรรม โดยสังเกต  รูปร่างลักษณะของไดโอด และการเปลี่ยนแปลงของวงจรไฟฟ้าเมื่อต่อและไม่ต่อไดโอด

3. การสร้างแบบจำลอง จากการบันทึกผลการทำกิจกรรมในใบงาน โดยใช้ภาพ ข้อความ และสัญลักษณ์เพื่อเขียนแผนภาพอธิบายการต่อและหน้าที่ของไดโอดในวงจรไฟฟ้าให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง

4. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุปจากการตอบคำถามในใบงาน โดยแปลความหมายข้อมูลและสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่ของไดโอดในวงจรไฟฟ้าได้

5. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความอยากรู้อยากเห็นในการทำงานระหว่างทำกิจกรรม

6. วัตถุวิสัย จากการบันทึกผลการทำกิจกรรมและการตอบคำถามในใบงานที่สะท้อนความสอดคล้องกันของหลักฐานและการแปลความหมายที่เที่ยงตรง

7. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความมุ่งมั่นอดทนในการทำงานระหว่างทำกิจกรรมและความสำเร็จของการทำงาน

8. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงาน ซึ่งเกิดจากการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเกี่ยวกับหน้าที่ของไดโอดในวงจรไฟฟ้าที่สะท้อนความสัมพันธ์ของข้อมูลหรือหลักฐานได้

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
ชั่วโมง พลังงานไฟฟ้า
เรื่อง ไดโอดทำหน้าที่อะไร วันที่ 3 ธ.ค. 67 (มีใบงาน ใบความรู้และใบกิจกรรม)