สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การน้อมนำหลักปรัชญามาปฏิบัติ ทุกคนสามารถนำหลักปรัชญาฯ มาเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้ไม่ใช่เฉพาะในหมู่คนจนหรือเกษตรกร โดยต้อง “ระเบิดจากข้างใน” คือการเกิดจิตสำนึก มีความศรัทธาเชื่อมั่น เห็นคุณค่า และนำไปปฏิบัติด้วยตนเอง แล้วจึงขยายไปสู่ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

 ตัวชี้วัด

 ส ๓.๑ ม.๓/๒   มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

จุดประสงค์การเรียนรู้

1 1.ด้านความรู้  

-  นักเรียนสามารถอธิบายแนวทางการพัฒนาด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้                       

2. ด้านทักษะกระบวนการ

-  นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาท้องถิ่นผ่านการนำเสนองานกลุ่ม

3  ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นในการทำงาน

  1. ด้านคุณลักษณะเฉพาะ

 -  นักเรียนเห็นความสำคัญของหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการนำมาแก้ไขปัญหาในท้องถิ่นโดยสังเกตจากการทำงานกลุ่มและการตอบคำถามในใบงาน

การวัดผลและประเมินผล

เครื่องมือวัด

  1. ใบงานที่ 50  เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงเรื่องใกล้ตัว

2 2. แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
ชั่วโมง ท้องถิ่นพอเพียง
เรื่อง แก้ไขปัญหาท้องถิ่น วันที่ 3 มี.ค. 68 (มีใบงาน)