สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ในระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยมนักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าราคาของสินค้าและบริการจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาด เนื่องจากอุปสงค์จะแสดงถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าชนิดหนึ่งเป็นปริมาณเท่าใดในแต่ละระดับราคา ส่วนอุปทานจะเป็นการแสดงถึง พฤติกรรมของผู้ผลิตในการขายสินค้าชนิดนั้นเป็นปริมาณเท่าใดในแต่ละระดับราคา โดยปกติแล้วปริมาณความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ในสินค้าไม่จำเป็นจะต้องเท่ากับปริมาณความต้องการเสนอขายหรือ อุปทานในสินค้า ณ ขณะใด พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าจะเป็นไปตามกฎของอุปสงค์และอุปทาน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

 ม.๓/๑ อธิบายกลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ

จุดประสงค์การเรียนรู้

1  ด้านความรู้  

   -  อธิบายความหมายและความสำคัญของกลไกราคาได้

                     2  ด้านทักษะกระบวนการ

 -  อภิปรายการกำหนดราคาในระบบเศรษฐกิจได้

                    3  ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

  -  ใฝ่เรียนรู้

  -  มุ่งมั่นในการทำงาน

  1.  คุณลักษณะเฉพาะ

                               -  เห็นความสำคัญของการเลือกซื้อขายสินค้าและบริการ โดยการตอบคำถาม

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการวัด

  1. ตั้งคำถามนำและให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย

เครื่องมือวัด

1  ใบงานที่ 31 เรื่อง เรื่อง การกำหนดราคาในระบบเศรษฐกิจ

2  แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
ชั่วโมง กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ
เรื่อง การกำหนดราคาในระบบเศรษฐกิจ วันที่ 15 ม.ค. 68 (มีใบงาน )