สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

1. ภาพพิมพ์ฉลุ (Stencil)   

2. การนำหลักการออกแบบงานทัศนศิลป์ โดยเน้นความเป็นเอกภาพ ความกลมกลืน และความสมดุล มาใช้ผ่านเทคนิคการพิมพ์ภาพ

3. การสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ฉลุด้วยตนเองจากความเข้าใจในหลักการออกแบบทางทัศนศิลป์

4. การนำไม้ใบด่าง ส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมมาใช้ในงานภาพพิมพ์ฉลุ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด
ศ 1.1 ม. 1/2 ระบุ และบรรยายหลักการออกแบบงานทัศนศิลป์ โดยเน้นความเป็นเอกภาพ ความกลมกลืน และความสมดุล
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
1. นักเรียนมีความสามารถในการเรียนเกี่ยวกับภาพพิมพ์ฉลุ
2. นักเรียนนำความเข้าใจหลักการออกแบบทางทัศนศิลป์มาใช้ในกระบวนการทำภาพพิมพ์ฉลุ          

ด้านทักษะและกระบวนการ
1. นักเรียนสามารถนำหลักการออกแบบทางทัศนศิลป์มาใช้ในการทำภาพพิมพ์ฉลุ

2. นักเรียนสามารถฉลุกระดาษตามรายละเอียดไม้ใบที่แตกต่างกัน

3. นักเรียนมีทักษะการใช้คัทเตอร์ในการกรีด/เจาะกระดาษได้อย่างปลอดภัย

ด้านคุณลักษณะ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. มีวินัย (การตรงเวลา)

2. มุ่งมั่นในการทำงาน (การทำงานจนสำเร็จตามแบบแผน)

คุณลักษณะเฉพาะ (ของแต่ละวิชา)

1. ความรู้เกี่ยวกับภาพพิมพ์ฉลุ

2. การนำหลักการออกแบบมาใช้

3. ทักษะการทำงานภาพพิมพ์ฉลุ

4. ทักษะการใช้คัทเตอร์ในการกรีด/เจาะกระดาษ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ
1. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
2. การประเมินผลงาน ชิ้นงาน
เครื่องมือ
1. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
2. แบบประเมินผลงาน ชิ้นงาน

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ทัศนศิลป์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ART JOURNAL 1
ชั่วโมง ART JOURNAL 1
เรื่อง ภาพพิมพ์ฉลุ 13 พ.ย. 67 (มีใบความรู้)