กลอนดอกสร้อยรำพึง เป็นวรรณคดีที่ผู้แต่งแต่งโดยดัดแปลงวรรณกรรมต่างประเทศ ให้สอดคล้องกับธรรมเนียมและวัฒนธรรมไทย โดยพระยาอุปกิตศิลปสารได้กล่าวว่า
“ข้าพเจ้าได้ดัดแปลงให้เข้ากับธรรมเนียมไทยบ้าง” ดังนั้นภาพบรรยากาศของป่าช้าที่ปรากฏในเรื่องจึงเป็นป่าช้าแบบไทย นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นความเชื่อ
การดำรงอยู่ของมนุษย์ และความแตกต่างของสังคม เมื่อนักเรียนได้ศึกษาคำประพันธ์กลอนดอกสร้อยแล้วจะทำให้เข้าใจเนื้อเรื่อง และสามารถนำเอาสิ่งที่ได้รับ
ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ให้มีคุณค่า มีสติ และมีประโยชน์ต่อไป
ตัวชี้วัด
ท ๕.๑ ม.๒/๓ อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน
ท ๕.๑ ม.๒/๔ สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่าน ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
๑. บอกคุณค่าด้านสังคมของกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าได้
ด้านทักษะกระบวนการ
๑. อ่านกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าแล้วบอกคุณค่าด้านสังคมได้
- คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑. ใฝ่เรียนรู้
๒. รักความเป็นไทย
- คุณลักษณะเฉพาะ (ของแต่ละวิชา)
๑. เห็นคุณค่าของวรรณคดีไทย
๒. เข้าใจลักษณะบทร้อยกรองไทย
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
๑. มีความสามารถในการสื่อสาร
๒. มีความสามารถในการคิด
วิธีการ
- คำถาม
- ใบงานเรื่อง อ่านบทกลอน สะท้อนสังคม
เครื่องมือ
- คำถามกระตุ้นความคิด - เกณฑ์การประเมิน ใบงานเรื่อง อ่านบทกลอน สะท้อนสังคม