สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า เป็นวรรณคดีที่มีการใช้ภาษาที่ต้องอธิบายขยายความสิ่งที่เป็นนามธรรมให้ผู้อ่านได้เข้าใจ และเห็นถึงความเป็นไปที่ผู้ประพันธ์ต้องการนำเสนอ

การประพันธ์จึงต้องมีความประณีต และกลวิธีการแต่งที่สละสลวย ไพเราะ โดยมีการเล่นคำ เล่นเสียง และการใช้ภาพพจน์ ให้เห็นจินตภาพมากขึ้น เมื่อนักเรียนได้ศึกษาคำประพันธ์

กลอนดอกสร้อยแล้วจะทำให้เข้าใจเนื้อเรื่อง และสามารถวิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์ได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งยังเห็นความงดงามที่วรรณคดีได้เสนอ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

          ท.๑.๑   ม.๒/๑ อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว และบทร้อยกรองได้ถูกต้อง

ท ๕.๑ ม.๒/๓ อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

                    ๑. บอกคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าได้       

ด้านทักษะกระบวนการ

                    ๑. อ่านกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าแล้วบอกคุณค่าด้านวรรณศิลป์ได้

- คุณลักษณะอันพึงประสงค์

                    ๑. ใฝ่เรียนรู้

                    ๒. รักความเป็นไทย

- คุณลักษณะเฉพาะ (ของแต่ละวิชา)

                    ๑. เห็นคุณค่าของวรรณคดีไทย

                    ๒. เข้าใจลักษณะบทร้อยกรองไทย

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

๑. มีความสามารถในการสื่อสาร

๒. มีความสามารถในการคิด

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- คำถาม     

- ใบงานเรื่อง อ่านบทกลอน สะท้อนวรรณศิลป์

เครื่องมือ

                    - คำถามกระตุ้นความคิด  

                   - เกณฑ์การประเมิน ใบงานเรื่อง อ่านบทกลอน สะท้อนวรรณศิลป์

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สื่อความเห็นเน้นกระบวนการ
ชั่วโมง สื่อความเห็นเน้นกระบวนการ
เรื่อง ดอกสร้อย ร้อยกรอง (7) 6 มี.ค. 68 (มีใบงาน ใบความรู้)