สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าได้กล่าวถึงชายคนหนึ่งต้องการหาความเงียบสงบ จึงเข้ามานั่งอยู่ในวัดชนบทตอนพลบค่ำ เขาเห็นชาวนาต้อนฝูงวัวฝูงควายกลับบ้านด้วยบรรยากาศวังเวง

เมื่อสิ้นแสงดวงอาทิตย์ก็ได้ยินเสียงนกแสกร้องเสียงดัง ใต้ต้นโพธิ์ต้นไทรรอบกายเขาเต็มไปด้วยเนินดิน ซึ่งน่าจะเป็นหลุมศพของชาวนา เขาจึงรู้สึกปลง สังเวช และรำพึงรำพันผ่านบทกลอนดอกสร้อย

โดยกล่าวถึงความเป็นไปของมนุษย์ว่าไม่มีผู้ใดหลีกหนีความตายไปได้ เมื่อนักเรียนได้ศึกษาคำประพันธ์กลอนดอกสร้อยแล้วจะทำให้เข้าใจเนื้อเรื่อง ความหมายคำศัพท์ แนวคิด ตลอดจนสามารถ

ทราบคุณค่าเบื้องต้นของกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

          ท ๕.๑ ม.๒/๓ อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน

ท ๕.๑ ม.๒/๔ สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่าน ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

                    ๑. บอกเนื้อหาและแนวคิดของกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าได้     

ด้านทักษะกระบวนการ

                    ๑. นักเรียนสามารถถอดคำประพันธ์ของกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าได้

- คุณลักษณะอันพึงประสงค์

                    ๑. ใฝ่เรียนรู้

                    ๒. รักความเป็นไทย

- คุณลักษณะเฉพาะ (ของแต่ละวิชา)

                    ๑. เห็นคุณค่าของวรรณคดีไทย

                    ๒. เข้าใจลักษณะบทร้อยกรองไทย

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

๑. มีความสามารถในการสื่อสาร

๒. มีความสามารถในการคิด

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- คำถาม     

- ใบงานเรื่อง บทอ่านกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

เครื่องมือ

             - คำถามกระตุ้นความคิด  

            - เกณฑ์การประเมิน ใบงานเรื่อง บทอ่านกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สื่อความเห็นเน้นกระบวนการ
ชั่วโมง สื่อความเห็นเน้นกระบวนการ
เรื่อง ดอกสร้อย ร้อยกรอง (5) 28 ก.พ. 68 (มีใบงาน)