สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก เป็นวรรณคดีพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในการแสดงละคร

และสอดแทรกข้อคิดคติสอนให้กับข้าราชบริพารได้รู้จักหน้า และมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งมีการประพันธ์โดยดำเนินเรื่องด้วยกลอนบทละคร หากนักเรียนเรียนรู้แล้ว

จะทำให้เข้าใจประวัติความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์มากยิ่งขึ้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

          ท ๕.๑ ม.๒/๑    สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านในระดับที่ยากขึ้น

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

                    อธิบายที่มาและลักษณะคำประพันธ์ของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ได้

ด้านทักษะกระบวนการ

                    จัดทำสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับที่มาและลักษณะคำประพันธ์ของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ได้อย่างสร้างสรรค์

- คุณลักษณะอันพึงประสงค์

                    ๑. ใฝ่เรียนรู้                                                    

                   ๒. มุ่งมั่นในการทำงาน

                   ๓. มีจิตสาธารณะ

- คุณลักษณะเฉพาะ (ของแต่ละวิชา)

                    ๑. ตระหนักถึงความสำคัญของที่มาและลักษณะคำประพันธ์ของบทละครเรื่องรามเกียรติ์

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

๑. มีความสามารถในการสื่อสาร

๒. มีความสามารถในการคิด

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- คำถาม     

- บัตรความรู้เรื่อง ที่มาและลักษณะคำประพันธ์ของบทละครเรื่องรามเกียรติ์

เครื่องมือ

                    - คำถามกระตุ้นความคิด   - เกณฑ์การประเมิน บัตรความรู้เรื่อง ที่มาและลักษณะคำประพันธ์ของบทละครเรื่องรามเกียรติ์

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เพลินพาทีชี้ประเด็น
ชั่วโมง เพลินพาทีชี้ประเด็น
เรื่อง วรรณคดีวิจักษณ์ (1) 9 ม.ค. 68 (มีใบความรู้)