การเขียนโน้มน้าวใจ เป็นการเขียนเพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตามหรืออยากปฏิบัติตามความต้องการที่ผู้เขียน ได้เขียนไว้ ซึ่งในการเขียนจะต้องใช้ภาษาโน้มน้าวใจโดยมีเหตุผลที่มีความน่าเชื่อถือ ชี้ให้เห็นประโยชน์ และมีมารยาทในการเขียน
การพูดโน้มน้าวใจ เป็นการพูดเชิญชวน เกลี้ยกล่อม ชักจูงให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ ศรัทธา มีความคิดเห็นคล้อยตาม ใช้ภาษาโน้มน้าวใจโดยมีเหตุผลที่มีความน่าเชื่อถือ ชี้ให้เห็นประโยชน์ และปฏิบัติตามได้จริง
ตัวชี้วัด
- ท 2.1 ป. 6/2 เขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ถูกต้องชัดเจน และเหมาะสม
- ท 2.1 ป. 6/9 มีมารยาทในการเขียน
- ท 3.1 ป. 6/5 พูดโน้มน้าวอย่างมีเหตุผล และน่าเชื่อถือ
- ท 3.1 ป. 6/6 มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
จุดประสงค์
1. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)
- อธิบายหลักการเขียนและพูดโน้มน้าวใจได้
2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
- เขียนและพูดโน้มน้าวใจจากเรื่องที่กำหนดได้
3. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)
- บอกประโยชน์ของการเขียนและพูดโน้มน้าวใจได้
1 ประเมินการเขียนโนมน้าวใจ
2 ประเมินการพูดโน้มน้าวใจ