สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดจากลมบกลมทะเล มรสุม ปรากฏการณ์เรือนกระจก หรือภัยธรรมชาติได้อย่างปลอดภัยจำเป็นต้องอาศัยความรู้

และกระบวนการคิดเพื่อวางแผนในการหาวิธีการรับมือหรือแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด ว 3.2 ป. 6/5   อธิบายผลของมรสุมต่อการเกิดฤดูของประเทศไทยจากข้อมูลที่รวบรวมได้

                   ป. 6/6  บรรยายลักษณะและผลกระทบของน้ำท่วม การกัดเซาะชายฝั่ง ดินถล่ม แผ่นดินไหว สึนามิ

                   ป. 6/7  ตระหนักถึงผลกระทบของภัยธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย โดยนำเสนอแนวทางในการเฝ้าระวังและปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติและธรณีพิบัติภัยที่อาจเกิดในท้องถิ่น

                   ป. 6/8   สร้างแบบจำลองที่อธิบายการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก และผลของปรากฏการณ์เรือนกระจกต่อสิ่งมีชีวิต

จุดประสงค์การเรียนรู้

วิเคราะห์และสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากข่าวปรากฏการณ์ธรรมชาติหรือภัยธรรมชาติที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

การวัดผลและประเมินผล

1. สังเกตการตอบคำถามในชั้นเรียนและเนื้อหาในใบงาน

2. สังเกตทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในขณะทำกิจกรรม

3. สังเกตด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติ
ชั่วโมง ปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติ
เรื่อง รักเรา รักษ์โลก (1) 24 ธ.ค. 67 (มีใบงาน และใบกิจกรรม)