สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การศึกษาหลักการใช้แสงและเงาให้เกิดเป็นงานรูปแบบ 3 มิติ งานทัศนศิลป์รูปแบบ 2 มิติจะพบได้ในงานจิตรกรรมและงานภาพพิมพ์   เพราะงานทั้งสองประเภทเกิดจากการใช้เส้นและสีในการสร้างงาน และมีระนาบ 2 ระนาบคือ กว้างและยาว ส่วนงานทัศนศิลป์ 3 มิติ คืองานประติมากรรมที่จับต้องได้ หรืองานจิตรกรรมบางประเภท เช่นภาพวาดที่มีการเพิ่มแสงเงาในรูปร่างที่เป็น 2 มิติ  หรือใช้เส้นเพื่อสร้างเส้นนำสายตาจะช่วยเพิ่มความลึก มิติ ให้กับรูปร่างนั้นเป็น 3 มิติ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ศ1.1 ป.6/3 สร้างงานทัศนศิลป์จากรูปแบบ 2 มิติ เป็น3 มิติ โดยใช้หลักการของแสงเงาและน้ำหนัก

จุดประสงค์

1. อธิบายความแตกต่างระหว่างงานทัศนศิลป์รูปแบบ 2 มิติ และรูปแบบ 3 มิติ

2 บอกวิธิการสร้างงานทัศนศิลป์จากรูปแบบ 2 มิติ เป็นรูปแบบ 3 มิติได้

3. สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์จากรูปแบบ 2 มิติ เป็นรูปแบบ 3 มิติได้

4 วาดภาพผลงานให้มีน้ำหนักแสงเงาที่ถูกต้อง

5. เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าของผลงานทัศนศิลป์

6. นักเรียนรักษาและเห็นคุณค่าของอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน

การวัดผลและประเมินผล

1. ตรวจสอบจากการตอบคำถามของนักเรียน

2. ประเมินจากแบบประเมินใบงาน

3. ประเมินจากการนำเสนอผลงาน

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มสาระ ศิลปะ
หน่วย หน่วยที่ ๖ ชื่อหน่วย สร้างสรรค์ประติมากรรม
ชั่วโมง สร้างสรรค์ประติมากรรม
เรื่อง ทัศนศิลป์รูปแบบ ๒ มิติ และ ๓ มิติ 1 พ.ย. 67 (มีใบงาน)