สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 เหตุการณ์สำคัญในการเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์ โปรดพระประยูรญาติ มีเหตุการณ์เกิดขึ้นดังนี้

นันทกุมารออกบวช เมื่อพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้แล้วเสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์ ประทับอยู่ที่นิโครธาราม ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระราชบิดา และพระประยูรญาติ

จึงตรัสถามนันทกุมารว่า นันทะ จักบวชหรือ แม้นันทกุมารไม่สมัครใจจะบวช แต่ก็ไม่สามารถขัดพระหฤทัยได้ เพราะมีความเคารพมาก จึงทูลยอมรับด้วยความจำใจว่า จะบวช

พระราหุล เป็นพระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ กับพระนางยโสธราพระโอรสออกมาทูลขอพระราชสมบัติที่ควรจะได้พระบรมศาสดาทรงดำริว่า ทรัพย์สมบัติทั้งหลาย

ที่จะมั่นคงถาวร และประเสริฐยิ่งกว่าอริยทรัพย์นั้นไม่มีพระพุทธองค์ทรงบัญญัติข้อห้ามมิให้บวชแก่กุลบุตรที่บิดามารดามิได้อนุญาตจึงเป็นมูลเหตุเบื้องต้นนับแต่นั้นมา

ที่มีข้อกำหนดว่าเมื่อผู้ประสงค์จะบรรพชาเป็นสามเณร หรือ อุปสมบทเป็นพระภิกษุจะต้องได้รับอนุญาตจากบิดา-มารดาเสียก่อนจึงจะดำเนินการได้ เว้นไว้แต่มารดา-บิดา

ไม่มีชีวิตอยู่  ทรงห้ามพระประยูรญาติวิวาทเรื่องน้ำ ครั้งหนึ่งพระประยูรญาติทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายกรุงกบิลพัสด์ และฝ่ายโกลิยนคร ได้วิวาทกันด้วยแย่งน้ำจึงเสด็จไปโปรด

พระประยูรญาติทั้งสองฝ่ายให้ระงับการวิวาทบาดหมางกัน โดยทรงชี้ให้เห็นว่าชีวิตกษัตริย์ ชีวิตคนนั้นแพงกว่าน้ำมากนัก ไม่ควรเห็นน้ำดีกว่าคน พระญาติทั้งสองฝ่ายจึง

เลิกวิวาทกันและมีความสามัคคีกัน  พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ครั้งนี้ คือที่โคนต้นมะม่วงท้าพระพุทธเจ้าแข่งแสดงปาฏิหาริย์ ว่าใครจะเก่งกว่ากัน พระพุทธเจ้า

ก็ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่โคนต้นมะม่วงจนได้โดยมีผู้นำผลมะม่วงสุกมาถวาย ทรงฉัน เสร็จแล้ว 

การทำงานกลุ่มให้ประสบความสำเร็จต้อง แบ่งหน้าที่กันยอมรับบทบาทหน้าที่ของตนเองโดยการใช้คำพูดที่เหมาะสม, ร่วมมือกันทำงานอย่างตั้งใจและรับผิดชอบตลอดการทำงาน

แสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่ม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด  ป.5/2 สรุปพุทธประวัติ ตั้งแต่เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์  จนถึงพุทธกิจสำคัญ หรือ  ประวัติศาสดาที่ตนนับถือตามที่กำหนด

จุดประสงค์

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

๑. เล่าเรื่องพุทธประวัติ ตั้งแต่เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ จนถึงพุทธกิจสำคัญ พุทธสาวก ชาดกและวันสำคัญทางศาสนา

ทักษะ/กระบวนการ (P)

           ๑. เขียนแสดงความคิดจากการศึกษาพุทธประวัติ

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

          ๑. เห็นประโยชน์ของการศึกษาพุทธประวัติ

การวัดผลและประเมินผล

๑. แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

๒. แบบประเมินแผนผังความคิด

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยที่ ๗ พุทธประวัติ
ชั่วโมง พุทธประวัติ
เรื่อง สรุปพุทธประวัติ 28 พ.ย. 67 (มีใบงาน ใบกิจกรรม)