สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

        การศึกษาศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ทัศนศิลป์ท้องถิ่นของไทยถูกแบ่งออกเป็น ๔ ภาค คือภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

และภาคใต้ ซึ่งแต่ละภูมิภาคจะมีปัจจัยที่ทำให้งานทัศนศิลป์ของไทยมีความแตกต่างกัน ได้แก่ สภาพทางภูมิศาสตร์  ประวัติศาสตร์ ฯลฯ และสังคมวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ 

ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดรูปแบบผลงานที่เป็นลักษณะเฉพาะของชาติและท้องถิ่นตามลำดับ  ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในท้องถิ่นและคนในชาติควรภาคภูมิใจ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ศ1.2 ป. 5/2 อภิปรายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ที่สะท้อนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในท้องถิ่น

จุดประสงค์

         1. อธิบายลักษณะรูปแบบของงานทัศนศิลป์ท้องถิ่นของแต่ละภูมิภาค

         2. เปรียบเทียบความแตกต่างของรูปแบบงานทัศนศิลป์ท้องถิ่นตนเองกับงานทัศนศิลป์ภาคอื่น ๆ             

         3. สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ท้องถิ่นของตนเอง

         4. สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ท้องถิ่นของภาคอื่น ๆ ที่เป็นภูมิปัญญาสะท้อนวัฒนธรรมไทย

         5. เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าของผลงานทัศนศิลป์ไทย

         6. รักษาและเห็นคุณค่าของอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน

การวัดผลและประเมินผล

1. ตรวจสอบจากการตอบคำถามของนักเรียน

2. ประเมินจากแบบประเมินใบงาน

3. ประเมินจากการนำเสนอผลงาน

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระ ศิลปะ
หน่วย หน่วยที่ ๗ ชื่อหน่วย ภูมิศิลป์แผ่นดินไทย
ชั่วโมง ภูมิศิลป์แผ่นดินไทย
เรื่อง ทัศนศิลป์ ๔ ภาค 3 ธ.ค. 67 (มีใบงาน)