การวิเคราะห์วรรณคดีหรือวรรณกรรม จำเป็นต้องศึกษาเนื้อหา คำศัพท์ต่าง ๆ เพื่อสร้างความความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง
อีกทั้งฝึกการเรียบเรียงภาษา จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวและแสดงความคิดเห็นได้อย่างมีมารยาท
ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)
- บอกหลักการวิเคราะห์วรรณคดีหรือวรรณกรรมขั้นพื้นฐาน
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
- วิเคราะห์วรรณคดีหรือวรรณกรรมขั้นพื้นฐาน
ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)
- เห็นถึงคุณค่าของการวิเคราะห์วรรณคดีหรือวรรณกรรมขั้นพื้นฐาน
สิ่งที่ต้องการวัด/ประเมิน |
วิธีการ |
เครื่องมือ |
เกณฑ์การประเมิน |
---|---|---|---|
ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K) - บอกหลักการสรุปเรื่องจากเรื่องที่อ่านได้ |
- ประเมินการตอบคำถาม |
- คำถามสำคัญ |
ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป |
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P) - เขียนสรุปเรื่องผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญได้ |
- ตรวจใบงานที่ ๘ เรื่อง การวิเคราะห์วรรณคดีหรือวรรณกรรม |
- แบบประเมิน การวิเคราะห์วรรณคดี หรือวรรณกรรม |
ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป |
คุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A) - นำความรู้และข้อคิดไปปรับใช้ได้ |
- ประเมินการตอบคำถาม |
- คำถามสำคัญ |
ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป |
สมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน - ความสามารถในการสื่อสาร (๑.๓) เลือกรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและการเรียนได้ |
- ประเมินการเลือกรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์และสามารถนำไปปรับใช้ชีวิตประจำวันและการเรียนได้ |
- แบบประเมินสมรรถนะด้านการสื่อสาร |
ผ่านเกณฑ์ ระดับคุณภาพ “ผ่าน” |
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ - ใฝ่เรียนรู้ |
- สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน |
- แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ |
ผ่านเกณฑ์ ระดับคุณภาพ “ผ่าน” |