สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การผันเสียงวรรณยุกต์อักษรต่ำ คือการผันคำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำ คำเป็น มีพื้นเสียง  เป็นเสียงสามัญ ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ *เสียงวรรณยุกต์โทตรงกับรูปวรรณยุกต์เอก เสียงวรรณยุกต์ตรีตรงกับรูปวรรณยุกต์โท ไม่มีรูปตรงกับเสียงสามัญ ถ้าจะผันให้ครบ ๕ เสียงจะต้องนำอักษรสูงมาช่วย ควรผันเสียงวรรณยุกต์ให้ถูกต้อง เพื่ออ่านออกเสียงและเขียนคำได้ถูกต้อง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด  ป.2/2  เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ

2. จุดประสงค์

2.1 ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

 - บอกหลักของการผันเสียงวรรณยุกต์อักษรต่ำ คำเป็นได้

2.2 ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

- ผันเสียงวรรณยุกต์อักษรต่ำ คำเป็นได้ถูกต้อง

2.3 ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

- เห็นคุณค่าของการผันเสียงวรรณยุกต์อักษรต่ำ คำเป็น เพื่อการออกเสียงและเขียนคำให้ถูกต้อง

การวัดผลและประเมินผล

ใบงานที่ 3  เรื่อง ฉันนี้เสียงอะไร จำได้ไหมเอ่ย

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ ๑๒ ชื่อหน่วย ภาษาไทย ใส่ใจจำ
ชั่วโมง ภาษาไทย ใส่ใจจำ
เรื่อง สนุกไปกับการผันวรรณยุกต์อักษรต่ำ 19 พ.ย. 67 (มีใบงาน)