สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

1. ความเชื่อมโยงและความแตกต่างกันของงานทัศนศิลป์ที่มาจากวัฒนธรรมไทยและสากลและการนำศิลปะแบบพหุวัฒนธรรมมาใช้ในการสร้างงานศิลปะ

2. การเปลี่ยนแปลงของงานทัศนศิลป์ของไทยในแต่ละยุคสมัย

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ศ 1.2 ม. 2/2 บรรยายถึงการเปลี่ยนแปลงของงานทัศนศิลป์ของไทยในแต่ละยุคสมัยโดยเน้นถึงแนวคิด และเนื้อหาของงาน

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. นักเรียนสามารถเข้าใจในความเชื่อมโยงและความแตกต่างกันของงานทัศนศิลป์ที่มาจากวัฒนธรรมไทยและสากลและการนำศิลปะแบบพหุวัฒนธรรมมาใช้ในการสร้างงานศิลปะ
2. นักเรียนสามารถเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของงานทัศนศิลป์ของไทยในแต่ละยุคสมัย

ด้านทักษะกระบวนการ

1. นักเรียนสามารถอภิปรายความแตกต่างกันของงานทัศนศิลป์ที่มาจากวัฒนธรรมไทยและสากลและการนำศิลปะแบบพหุวัฒนธรรมมาใช้ในการสร้างงานศิลปะ

2. นักเรียนสามารถอภิปรายถึงการเปลี่ยนแปลงของงานทัศนศิลป์ของไทยในแต่ละยุคสมัย

ด้านคุณลักษณะ

1. นักเรียนมีวินัย (มาเรียนตรงเวลาและนำอุปกรณ์การทำงานมาครบถ้วน)

2. นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน

3. นักเรียนมีความใฝ่เรียนรู้ 

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

          1. ประเมินผลงาน ชิ้นงาน
          2. การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

เครื่องมือ
          1. แบบประเมิน ชิ้นงาน
          2. แบบประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ทัศนศิลป์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 แบบทดสอบ
ชั่วโมง แบบทดสอบ
เรื่อง ทบทวนบทเรียน 31 มี.ค. 68