สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

1. นำรูปแบบงานทัศนศิลป์ที่มาจากวัฒนธรรมไทยและสากล มาใช้ในการสร้างงานศิลปะกรอบข้อความ

2. วาดภาพด้วยเทคนิคที่หลากหลาย เพื่อสร้างเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับทัศนศิลป์ของไทยและสากลผ่านผลงานศิลปะพหุวัฒนธรรม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

          ศ 1.1 ม. 2/3 วาดภาพด้วยเทคนิคที่หลากหลายในการสื่อความหมายและเรื่องราวต่าง ๆ
          ศ 1.2 ม. 2/3 เปรียบเทียบแนวคิดในการออกแบบงานทัศนศิลป์ที่มาจากวัฒนธรรมไทยและสากล

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. นักเรียนสามารถเข้าใจเรื่องแนวคิดในการออกแบบงานทัศนศิลป์ที่มาจากวัฒนธรรมไทยและสากล

2. นักเรียนสามารถเข้าใจถึงความเชื่อมโยงและความแตกต่างกันของงานทัศนศิลป์ที่มาจากวัฒนธรรมไทยและสากล

ด้านทักษะกระบวนการ

1. นักเรียนสามารถอภิปรายถึงความแตกต่างของงานทัศนศิลป์ที่มาจากวัฒนธรรมไทยและสากลได้

ด้านคุณลักษณะ

1. นักเรียนมีวินัย (มาเรียนตรงเวลาและนำอุปกรณ์การทำงานมาครบถ้วน)

2. นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน

3. นักเรียนมีความใฝ่เรียนรู้ 

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

          1. ประเมินผลงาน ชิ้นงาน
          2. การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

เครื่องมือ
          1. แบบประเมิน ชิ้นงาน
          2. แบบประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ทัศนศิลป์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 งานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทยและสากล
ชั่วโมง งานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทยและสากล
เรื่อง วัฒนธรรมสร้างศิลป์ ภาคทฤษฎี 27 ม.ค. 68 (มีใบงาน และใบความรู้)