มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม หมายถึง การปฏิบัติ การเป็นตัวแทนการแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุสิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งเหล่านั้น ลักษณะของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จำแนกออกเป็น 6 สาขา คือ (1) วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา (2) ศิลปะการแสดง (3) แนวทางปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล (4) ความรู้และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล (5) งานช่างฝีมือดั้งเดิม และ (6) การเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
ตัวชี้วัด
ง 1.1 ม. 2/1 ใช้ทักษะการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาการทำงาน
ง 1.1 ม. 2/2 ใช้ทักษะการะบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน
ง 1.1 ม. 2/3 มีจิตสำนึกในการทำงานและใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานอย่างประหยัดและคุ้มค่า
ง 1.1 ม. 2/3 มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพที่สนใจ
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
นักเรียนสามารถบอกลักษณะของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในสาขาต่าง ๆ ได้
ด้านทักษะกระบวนการ
1. นักเรียนสามารถคิดประเมินคุณค่าประโยชน์ของตัวอย่างมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมได้
2. นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สื่อสารกับเพื่อนในชั้นเรียนได้
ด้านคุณลักษณะ
- คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
วิธีการ
1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนและการตอบคำถาม
2. กิจกรรมกลุ่มไขปริศนามรดกภูมิปัญญา
3. สังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรมกลุ่มไขปริศนามรดกภูมิปัญญา
เครื่องมือ
1. แบบประเมินพฤติกรรมในชั้นเรียน
2. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์