สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 องค์ประกอบลมฟ้าอากาศที่สำคัญอีกหนึ่งองค์ประกอบ คือ ฝน หยาดน้ำฟ้าที่พบบ่อยในประเทศไทย ได้แก่ ฝน ปริมาณฝนสามารถตรวจวัดได้โดยใช้เครื่องวัดฝน ปริมาณฝนในแต่ละพื้นที่และแต่ละช่วงเวลาในรอบปีแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปริมาณและชนิดของเมฆ ลักษณะของพื้นที่และฤดู

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

 1. อธิบายปริมาณฝนและการตรวจวัดปริมาณฝน
 2. บอกปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณฝน
ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
 
1. การลงความเห็นจากข้อมูล เกี่ยวกับปริมาณฝนและการตรวจวัดปริมาณฝน และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณฝน
 2. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป เกี่ยวกับปริมาณฝนและการตรวจวัดปริมาณฝน และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณฝน
 ด้านจิตวิทยาศาสตร์
 
1. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน โดยใช้หลักฐานที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลมาใช้สนับสนุนการอธิบายเกี่ยวกับปริมาณฝนและการตรวจวัดปริมาณฝน และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณฝน
 2. ความซื่อสัตย์ ในการเก็บรวบรวมหลักฐานหรือข้อมูลต่าง ๆ จากการทำกิจกรรมตามความเป็นจริง
 3. วัตถุวิสัย การแปลความหมายข้อมูลให้สอดคล้องกับหลักฐานหรือข้อมูลอย่างเที่ยงตรง ไม่มีอคติ ไม่นำความเชื่อส่วนตัวหรือไม่ใส่ข้อคิดเห็นของตนเองในการแปลความหมายข้อมูล
 4. ความมุ่งมั่นอดทน โดยมุ่งมั่นตั้งใจในการทำกิจกรรม เพื่อให้ได้หลักฐานนำไปสู่การอธิบายเกี่ยวกับปริมาณฝนและการตรวจวัดปริมาณฝน และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณฝน

 ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
 
1. การสื่อสาร โดยใช้ภาพ ข้อความหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อนำเสนอและอธิบายปริมาณฝนและการตรวจวัดปริมาณฝน และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณฝน

 2. การรวมพลังทำงานเป็นทีม ในการสื่อสาร การช่วยเหลือกันในขณะทำกิจกรรม การปฏิบัติตามคำชี้แนะและการตัดสินใจร่วมกัน
 3. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้มาใช้แปลความหมายและอธิบายเกี่ยวกับปริมาณฝนและการตรวจวัดปริมาณฝน และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณฝน
 4. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยการตีความหมายข้อมูล วิเคราะห์และสร้างข้อสรุปจากข้อมูลที่รวบรวมได้ ในการอธิบายเกี่ยวกับปริมาณฝนและการตรวจวัดปริมาณฝน และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณฝน

 

 

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

ด้านความรู้ โดยประเมินจาก

1. การอภิปรายและตอบคำถามเกี่ยวกับปริมาณฝนและการตรวจวัดปริมาณฝน และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณฝน     2. การบันทึกผลการทำกิจกรรมเกี่ยวกับปริมาณฝนและการตรวจวัดปริมาณฝน และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณฝน ในใบงานที่ 1 หยาดน้ำฟ้า การวัดปริมาณฝนและปริมาณฝนเฉลี่ยของประเทศไทย
 3. การนำเสนอข้อมูลปริมาณฝนและการตรวจวัดปริมาณฝน และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณฝน
 ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก

 1. การลงความเห็นจากข้อมูล จากความสามารถในการอธิบายเกี่ยวกับปริมาณฝนและการตรวจวัดปริมาณฝน และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณฝน
 2. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูล การอภิปราย การตอบคำถามและลงข้อสรุปเกี่ยวกับปริมาณฝนและการตรวจวัดปริมาณฝน และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณฝนได้ด้วยตนเองหรือจากการชี้แนะของครู

 ด้านจิตวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก    
 1. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน จากการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและจากการรวบรวมมาใช้สนับสนุนการอธิบายปริมาณฝนและการตรวจวัดปริมาณฝน และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณฝนได้อย่างสมเหตุสมผล
 2. ความซื่อสัตย์ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากการทำกิจกรรม การนำเสนอข้อมูลหรือผลการทำกิจกรรมตามผลที่ได้จริงหรือตามที่ปรากฏจริงถึงแม้จะแตกต่างจากผู้อื่น
 3. วัตถุวิสัย จากการแปลความหมายข้อมูลโดยใช้หลักฐานหรือข้อมูลต่าง ๆ จากการทำกิจกรรมตามผลการทำ
กิจกรรมที่ได้จริงหรือตามที่ปรากฏจริงและอย่างมีเหตุและผล
 4. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจในการทำกิจกรรม การทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จตามกำหนดและตรงต่อเวลา อดทนแม้การทำกิจกรรมจะมีปัญหาและใช้เวลา

 ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน โดยประเมินจาก          
 1. การสื่อสาร จากการ ใช้ภาพ ข้อความหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในการอธิบายปริมาณฝนและการตรวจวัดปริมาณฝน และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณฝนให้เข้าใจง่ายและถูกต้อง
 2. การรวมพลังทำงานเป็นทีม จากการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการทำกิจกรรม การช่วยเหลือเพื่อนในขณะทำกิจกรรม การปฏิบัติตามคำชี้แนะในขณะทำกิจกรรม และใช้การตัดสินใจเป็นทีมแบบฉันทามติ
 3. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามและจากการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณฝนและการตรวจวัดปริมาณฝน และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณฝนโดยใช้หลักฐานหรือข้อมูลที่รวบรวมได้มาสนับสนุนคำอธิบายได้ถูกต้อง
 4. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามและจากการนำเสนอข้อมูล ซึ่งมีการตีความหมายข้อมูล วิเคราะห์และสร้างข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การอภิปราย และจากการรวบรวมข้อมูลในการอธิบายเกี่ยวกับปริมาณฝนและการตรวจวัดปริมาณฝน และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณฝนได้อย่างถูกต้องและสมเหตุสมผล

 8.2 เครื่องมือ
ใบงานที่ 1 หยาดน้ำฟ้า การวัดปริมาณฝนและปริมาณฝนเฉลี่ยของประเทศไทย

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง ลมฟ้าอากาศ
ชั่วโมง ลมฟ้าอากาศ
เรื่อง ฝน (1) 26 ก.พ. 68 (มีใบงาน)