สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การพูดโน้มน้าว เป็นการพูดให้ผู้อื่นเชื่อถือและคล้อยตามผู้พูดอย่างมีเหตุผล โดยผู้พูดต้องเตรียมตัว   ในการพูดด้วยสำนวนภาษาเหมาะสม มีบุคลิกภาพที่ดี และมีการแสดงความจริงใจต่อผู้ฟัง ทำให้ผู้ฟังปฏิบัติตนในสิ่งที่ผู้พูดต้องการ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด                                                                                                                        

- ท 3.1 ป.6/5 พูดโน้มน้าวอย่างมีเหตุผล และน่าเชื่อถือ

- ท 3.1 ป.6/6 มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด

จุดประสงค์                                                                              

1. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

- บอกหลักการพูดโน้มน้าวใจได้

2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

 - พูดโน้มน้าวใจได้ถูกต้องตามหลักการ

3. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

- บอกประโยชน์ของการพูดโน้มน้าวใจได้

การวัดผลและประเมินผล

- ประเมินการพูดโน้มน้าวใจ

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ 7 ชื่อหน่วย สร้างสรรค์ภาษาพาสนุก
ชั่วโมง สร้างสรรค์ภาษาพาสนุก
เรื่อง การพูดโน้มน้าว (๑) 12 ก.ย. 67 (มีใบงาน และใบความรู้)