สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

สำนวน สุภาษิต คำพังเพย เป็นถ้อยคำหรือข้อความที่มีความหมายลึกซึ้ง ความหมายไม่ตรงตัว ต้องอาศัยการตีความ โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ผู้เรียนต้องวิเคราะห์และเปรียบเทียบสำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต อีกทั้งยังสามารถใช้สำนวนไทยให้ถูกต้องในสถานการณ์ที่พบเจอในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด                                                                                                                

- ท 4.1 ป.6/6 วิเคราะห์และเปรียบเทียบสำนวนที่เป็นคำพังเพย และสุภาษิต

จุดประสงค์                                                                                       

1. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

               - อธิบายลักษณะสำนวนที่เป็นสุภาษิตและคำพังเพยได้            

2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

                - วิเคราะห์และเปรียบเทียบสำนวนไทยกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้

3. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

          - บอกความสำคัญของการใช้สำนวนไทยได้

การวัดผลและประเมินผล

- ประเมินการวิเคราะห์สำนวนไทยกับสถานการณ์ต่าง ๆ     

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ 4 ชื่อหน่วย วินิจภาษา เพื่อการสื่อสาร
ชั่วโมง วินิจภาษา เพื่อการสื่อสาร
เรื่อง สำนวน สุภาษิต คำพังเพย (๒) 16 ก.ค. 67 (มีใบงาน และใบความรู้)