การสรุปเรื่อง เป็นการนำความคิดหลักหรือประเด็นสำคัญของเรื่องที่อาจปรากฏอยู่ตอนต้น ตอนกลาง หรือตอนท้ายของเรื่อง มาสรุปให้ได้ใจความชัดเจน กระชับ ด้วยสำนวนภาษาของตนเอง
ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)
- บอกหลักการสรุปเรื่องจากวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านได้
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
- เขียนสรุปเรื่องจากวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านได้
ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)
- นำข้อคิดที่ได้ไปใช้ในชีวิตจริง
- มีมารยาทในการอ่านและการพูด
การประเมินผล
สิ่งที่ต้องการวัด/ประเมิน |
วิธีการ |
เครื่องมือ |
เกณฑ์การประเมิน |
---|---|---|---|
ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K) - บอกหลักการสรุปเรื่องจากวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน |
- สังเกตการตอบคำถามของนักเรียน
|
- คำถามสำคัญ |
ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป |
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P) - เขียนสรุปเรื่องจากวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน |
- ตรวจใบงานที่ ๓ เรื่อง การสรุปเรื่องจากวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน |
- แบบประเมินการสรุปเรื่องจากวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน |
ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป |
คุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A) - นำข้อคิดไปใช้ในชีวิตจริงได้ - มีมารยาทในการอ่านและการพูด |
- สังเกตการตอบคำถามและพฤติกรรมนักเรียน |
- คำถามสำคัญ |
ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับคุณภาพ “ผ่าน” |
สมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน ความสามารถในการสื่อสาร (๑.๑) พูดและเขียนสรุปประเด็นสำคัญ มุมมองและแนวคิดจากการอ่านเรื่องวรรณคดีและวรรณกรรมได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล และถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างมีมารยาทในการพูด |
- ประเมินการพูดและเขียนสรุปเรื่องจากวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน |
- แบบประเมินสมรรถนะในการสื่อสาร |
ผ่านเกณฑ์ ระดับคุณภาพ “ผ่าน” |