สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

1) การหาเศษส่วนที่เท่ากัน ทำได้โดย นำจำนวนนับจำนวนเดียวกันคูณทั้งตัวเศษและตัวส่วนของเศษส่วน หรือจำนวนนับจำนวนเดียวกันหารทั้งตัวเศษและตัวส่วนของเศษส่วน ซึ่งจำนวนนับนั้นต้องหารทั้งตัวเศษและตัวส่วนได้ลงตัว

2) การเปรียบเทียบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน ทำได้โดย ทำเศษส่วนนั้นให้มีตัวส่วนให้เท่ากัน หลังจากนั้นเปรียบเทียบเศษส่วน ซึ่งพิจารณาจากตัวเศษ ถ้าเศษส่วนใดที่ตัวเศษมากกว่า แสดงว่า เศษส่วนนั้นจะมีค่ามากกว่า

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้        

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

- แสดงวิธีหาเศษส่วนที่เท่ากัน และเปรียบเทียบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากันได้

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

1) ให้เหตุผล

2) สื่อสาร และสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

1) มีเหตุผล ในการสนับสนุนหรือโต้แย้งแนวคิดได้อย่างถูกต้อง

2) คิดอย่างเป็นระบบ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1) ตรวจผลงานจากแบบฝึกหัด 4.11

2) ใบกิจกรรม 4.7

3) สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

เครื่องมือ

1) แบบฝึกหัด 4.11

2) ใบกิจกรรม 4.7

3) แบบประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

4) แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์

5) แบบประเมินสมรรถนะของผู้เรียน

6) แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยที่ 4 ชื่อหน่วย ร้อยละและอัตราส่วน
ชั่วโมง ร้อยละและอัตราส่วน
เรื่อง ทบทวนการหาเศษส่วนที่เท่ากัน และเปรียบเทียบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน 2 ก.ย. 67 (มีแบบฝึกหัด, ใบกิจกรรมและกิจกรรมตามหาาเศษส่วนที่เท่ากัน)