สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การเขียนจำนวนคละในรูปทศนิยม อาจเขียนจำนวนคละในรูปเศษเกินก่อน ทำเศษเกินนั้นให้ตัวส่วนเป็นตัวประกอบของ 10 100 หรือ 1,000 แล้วจึงเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม 1 ตำแหน่ง 2 ตำแหน่ง หรือ 3 ตำแหน่ง

หรืออาจเขียนจำนวนคละในรูปการบวกของจำนวนนับกับเศษส่วน ทำเศษส่วนให้ตัวส่วนเป็นตัวประกอบของ 10 100 หรือ 1,000 แล้วจึงเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม 1 ตำแหน่ง 2 ตำแหน่ง หรือ 3 ตำแหน่ง โดยนำไปบวกกับจำนวนนับ           

การเขียนทศนิยมในรูปจำนวนคละ ซึ่งทศนิยม 1 ตำแหน่ง 2 ตำแหน่ง หรือ 3 ตำแหน่ง มีตัวส่วนเป็น 10 100 หรือ 1,000 ตามลำดับ แล้วเขียนเศษส่วนที่ได้ในรูปเศษส่วนอย่างต่ำ

ถ้าเศษส่วนที่ได้เป็นเศษเกินให้ทำเศษส่วนอย่างต่ำนั้นเป็นจำนวนคละ หรือเขียนทศนิยมในรูปการกระจายก่อนแล้วเขียนเป็นจำนวนนับบวกเศษส่วน หากเศษส่วนนั้นยังไม่เป็นเศษส่วนอย่างต่ำให้ทำเป็นเศษส่วนอย่างต่ำ จากนั้นเขียนในรูปจำนวนคละ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้         

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

1) เขียนจำนวนคละที่ตัวส่วนไม่เป็นตัวประกอบของ 10 100 หรือ 1000 ในรูปทศนิยม

2) เขียนทศนิยมไม่เกิน 3 ตำแหน่ง ในรูปจำนวนคละ

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

1) ให้เหตุผล

2) สื่อสาร และสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

                   1) มีเหตุผล ในการสนับสนุนหรือโต้แย้งแนวคิดได้อย่างถูกต้อง

                   2) คิดอย่างเป็นระบบ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

             1) ตรวจผลงานจากแบบฝึกหัด 3.2

2) สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

เครื่องมือ

1) แบบฝึกหัด 3.2

2) แบบประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

3) แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์

4) แบบประเมินสมรรถนะของผู้เรียน

5) แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยที่ 3 ชื่อหน่วย ทศนิยม และการบวก การลบ การคูณ การหารทศนิยม
ชั่วโมง ทศนิยม และการบวก การลบ การคูณ การหารทศนิยม
เรื่อง การเขียนจำนวนคละในรูปทศนิยมเขียนทศนิยมในรูปจำนวนคละ 19 ก.ค. 67 (มีแบบฝึกหัด และบัตรทศนิยม)