1. การอ่านเวลาให้อ่านตัวเลขหน้ามหัพภาค (.) หรือทวิภาค (:) เป็นนาฬิกาและอ่านตัวเลขหลังมหัพภาค (.) หรือทวิภาค (:) เป็นนาที
2. การบอกระยะเวลาอาจบอกเป็นชั่วโมง เป็นนาที หรือเป็นชั่วโมงและนาที โดยนับจากเวลาเริ่มต้นจนถึงเวลาสิ้นสุด
3. การเปรียบเทียบระยะเวลาเป็นชั่วโมงและนาที ถ้าจำนวนชั่วโมงไม่เท่ากัน จำนวนชั่วโมงมากกว่าระยะเวลานั้นจะมากกว่า ถ้าจำนวนชั่วโมงเท่ากัน จำนวนนาทีมากกว่าระยะเวลานั้นจะมากกว่า
4. การเปรียบเทียบระยะเวลาที่มีหน่วยต่างกันต้องเปลี่ยนหน่วยให้เป็นหน่วยเดียวกันก่อนแล้วจึงนำมาเปรียบเทียบกัน
5. การบันทึกกิจกรรมที่ระบุเวลาโดยทั่วไป ประกอบด้วย ชื่อบันทึก วันที่ เดือน พ.ศ. จะอยู่ส่วนบนของบันทึก เวลาจะอยู่ด้านซ้ายของบันทึกและกิจกรรมต่าง ๆ จะอยู่ด้านขวาของบันทึก ซึ่งรายระเอียดขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บันทึก
ตัวชี้วัด
ค 2.1 ป.3/2
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)
1) อ่านและเขียนบกเวลาที่มีมหัพภาค (.) หรือทวิภาค (:)
2) บอกระยะเวลาเป็นชั่วโมงและนาที
3) เปรียบเทียบระยะเวลา
4) อ่านและเขียนบันทึกกิจกรรมที่ระบุเวลา
5) แก้ปัญหาเกี่ยวกับเวลาและระยะเวลา
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
1) แก้ปัญหา
2) สื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)
1) มีเหตุผล ในการสนับสนุนหรือโต้แย้งแนวคิดได้อย่างสมเหตุสมผล
2) เห็นคุณค่าของคณิตศาสตร์ว่าสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้
1. ตรวจใบกิจกรรม
2. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้