สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

จำนวนใช้บอกปริมาณของสิ่งต่าง ๆ  จำนวน 1 2 3 … 20 เป็นจำนวนนับ  ถ้าไม่มีของจะถือว่ามีจำนวนเป็นศูนย์ โดยศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ จำนวนนับเป็นจำนวนที่เริ่มต้นจาก 1 และนับเพิ่มขึ้นทีละ 1 เป็น 2 3 … 20 ตามลำดับการเขียนตัวเลขแสดงจำนวน 10 ถึง 19 ในรูปกระจาย เป็นการเขียนในรูปการบวกของ 1 สิบกับจำนวนหน่วย และ 20 เขียนในรูปการบวกของ 2 สิบกับ 0 หน่วย10 ถึง 20 เป็นตัวเลขแสดงจำนวนนับที่มีสองหลัก เลขโดดทางขวาอยู่ในหลักหน่วย เลขโดดทางซ้ายของหลักหน่วยอยู่ในหลักสิบ จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะเท่ากัน มากกว่ากัน หรือน้อยกว่ากัน อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้นการเรียงลำดับจำนวน ทำได้โดยพิจารณาจำนวนที่มากที่สุดและจำนวนน้อยที่สุดแล้วนำจำนวนที่เหลือมาเปรียบเทียบ แล้วเรียงลำดับจำนวนจากน้อยไปมาก หรือมากไปน้อยความสัมพันธ์ของจำนวนแบบส่วนย่อย – ส่วนรวม เป็นการเขียนแสดงจำนวนที่กำหนดในรูปของจำนวน 2 จำนวน โดยผลบวกของจำนวนสองจำนวน จะเท่ากับจำนวนที่เป็นส่วนรวม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ค 1.1 ป.1/1 บอกจำนวนของสิ่งต่าง ๆ แสดงสิ่งต่าง ๆ ตามจำนวนที่กำหนด อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทยแสดงจำนวนนับไม่เกิน 100 และ 0

จุดประสงค์การเรียนรู้   

1.  บอกปริมาณของสิ่งต่าง ๆ จำนวน 1 2 3 … 20 เป็นจำนวนนับ และ 0 อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย และเขียนแสดงจำนวนในรูปกระจาย เปรียบเทียบ เรียงลำดับ เขียนความสัมพันธ์ของจำนวนแบบส่วนย่อย – ส่วนรวม

การวัดผลและประเมินผล

1. ตรวจแบบฝึกหัด 1.27

2. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยที่ 1 ชื่อหน่วย จำนวน
ชั่วโมง จำนวน
เรื่อง จำนวนรอบตัว 27 มิ.ย. 67 (มีแบบฝึกหัด)