สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ซากดึกดำบรรพ์เป็นโครงร่างหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีตมีลักษณะเป็นโครงร่างหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏอยู่ในหินส่วนใหญ่พบในหินตะกอน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 3.2 ป.6/3 สร้างแบบจำลองที่อธิบายการเกิดซากดึกดำบรรพ์และคาดคะเนสภาพแวดล้อมในอดีตของซากดึกดำบรรพ์บรรยาย

จุดประสงค์

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

- อธิบายการเกิดซากดึกดำบรรพ์ที่เกิดจากโครงร่างและร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีต

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

- การลงความเห็นจากข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดซากดึกดำบรรพ์ที่เกิดจากโครงร่างและร่องรอยของสิ่งมีชีวิต   ในอดีต

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

- เปิดใจพิจารณาความคิดเห็นวิธีการ หรือคำอธิบายอื่น ๆ ที่สมเหตุสมผล หรือมีความเป็นไปได้ มากกว่าของตนเอง

การวัดผลและประเมินผล

1 การสังเกตจากการสรุปความรู้ที่ได้ในการทำกิจกรรม การตอบคำถาม และการแสดงความคิดเห็น

2 การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

3 การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม

4 การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงสมรรถนะในขณะทำกิจกรรม

5 การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์

 

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยที่ 3 ชื่อหน่วย หินและซากดึกดำบรรพ์
ชั่วโมง หินและซากดึกดำบรรพ์
เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์เกิดขึ้นได้อย่างไร(4) 10 ก.ย. 67 (มีใบงาน)