สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

        แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัสมีผลทำให้วัตถุมีการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ แรงแม่เหล็กเป็นแรงไม่สัมผัส โดยเมื่อแม่เหล็ก 2 แท่งเข้าใกล้กัน แรงระหว่างแม่เหล็กจะทำให้เกิดการดึงดูดหรือผลักมีผลทำให้วัตถุเกิดการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ เราสามารถนำผลที่เกิดจากแรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัสไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว2.2 ป.3/2 เปรียบเทียบและยกตัวอย่างแรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัสที่มีต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

ว2.2 ป.3/4 ระบุขั้วแม่เหล็กและพยากรณ์ผลที่เกิดขึ้นระหว่างขั้วแม่เหล็กเมื่อนำมาเข้าใกล้กันจากหลักฐานเชิงประจักษ์

จุดประสงค์

อธิบายเกี่ยวกับผลของแรงแม่เหล็ก แรงจากการดึงและการผลักที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการ เคลื่อนที่ของวัตถุในสถานการณ์ที่กำหนด

การวัดผลและประเมินผล

ประเมินความรู้เรื่องผลของแรงแม่เหล็กที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุในสถานการณ์ที่กำหนด โดยการสังเกตการตอบคำถามในชั้นเรียนและเนื้อหาในใบงาน

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยที่ 2 แรง
ชั่วโมง แรง
เรื่อง แม่เหล็กเข้าใกล้กันจะเป็นอย่างไร (2) 8 ส.ค. 67 (มีใบงาน)