สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

1.ความขัดแย้งในครอบครัว

1.1 ความหมายของความรุนแรง

1.2 สาเหตุความขัดแย้งในครอบครัว

1.3 แนวทางป้องกัน แก้ไขความขัดแย้งในครอบครัว

2.การสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว

2.1 หลักการสร้างสัมพันธภาพ

2.2 แนวทางการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

พ 2.1 ม.3/3 วิเคราะห์สาเหตุ  และเสนอแนวทางป้องกัน แก้ไขความขัดแย้งในครอบครัว

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

นักเรียนสามารถวิเคราะห์สาเหตุของความขัดแย้งในครอบครัวได้ถูกต้อง

ด้านทักษะกระบวนการ

1.นักเรียนสามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของความขัดแย้งในครอบครัวได้ถูกต้อง

2.นักเรียนสามารถแนะนำวิธีการป้องกันและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวได้ถูกต้อง     

ด้านคุณลักษณะ

- คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. นักเรียนมีความซื่อสัตย์สุจริต

2. นักเรียนมีความใฝ่เรียนรู้

3. นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน

 

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. สังเกตการตอบคำถามในชั้นเรียน

2. ประเมินจากการจัดทำแบบบันทึกกิจกรรมการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวด้วยสถานการณ์จำลองรูปแบบต่างๆ

3. สังเกตจากพฤติกรรมในชั้นเรียน

เครื่องมือ

1.แบบสังเกตการตอบคำถามในชั้นเรียน

2. แบบประเมินการแสดงบทบาทสมมติในกิจกรรมสถานการณ์จำลองการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว

3. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

 

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ สุขศึกษาและพลศึกษา
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การป้องกันและแก้ไขความขัดแย้งในครอบครัว
ชั่วโมง การป้องกันและแก้ไขความขัดแย้งในครอบครัว
เรื่อง การสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว 20 ส.ค. 67 (มีใบงาน และใบความรู้)