สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ในวันหนึ่ง ๆ จิตของเราคิดเรื่องต่าง ๆ มากมาย จิตย่อมจะเหนื่อยล้า หากไม่ได้ มีการบำรุงรักษาหรือบริหารจิตของเราให้เข้มแข็งผ่องใสบริสุทธิ์จิตจะอ่อนแอ หวั่นไหว ต่อเหตุการณ์รอบตัวได้ง่าย เช่น บางคนจะแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมาจนเกินเหตุ เมื่ออยู่ในอาการตกใจ เสียใจ โกรธ ดีใจ หรือเกิดความอยากได้ เพราะจิตใจอ่อนแอ ขุ่นมัว การทำจิตใจให้ผ่องใสหรือ การฝึกจิต คือ การฝึกจิตให้มีสติสามารถควบคุมจิตใจให้จดจ่อ กับสิ่งที่เรากระทำ โดยระลึกอยู่เสมอว่าตนกำลังทำอะไรอยู่ ต้องทำอย่างไร พร้อมกับ ระมัดระวังไม่ให้เกิดความผิดพลาดหรือมีสมาธินั่นเองเป็นการควบคุมจิตใจให้จดจ่อแน่วแน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ส ๑.1 ม.๓/9    สวดมนต์ แผ่เมตตา บริหารจิตและเจริญปัญญาด้วยอานาปานสติหรือตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ

จุดประสงค์การเรียนรู้

-  ด้านความรู้

  1. อธิบายความหมายและความสำคัญของการบริหารจิตและเจริญปัญญาได้

-  ด้านทักษะกระบวนการ

  1. ประยุกต์ใช้หลักการบริหารจิตและเจริญปัญญากับชีวิตประจำวันของตนเองได้

-  ด้านคุณลักษณะคุณลักษณะอันพึงประสงค์

  1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
  2. ใฝ่เรียนรู้
  3. มุ่งมั่นในการทำงาน

-  คุณลักษณะเฉพาะ

  1. เห็นความสำคัญของการบริหารจิตและเจริญปัญญาในพระพุทธ ศาสนาโดยสังเกตจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและการจดบันทึก

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการวัด

-  ตั้งคำถามนำและให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย

เครื่องมือวัด

-  แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 18

-  ใบงานที่ 23 เรื่อง การบริหารจิตและเจริญปัญญา

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง สืบสานหลักคำสอน
ชั่วโมง สืบสานหลักคำสอน
เรื่อง การบริหารจิตและเจริญปัญญา 26 ก.ค. 67 (มีใบงาน)