สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

พุทธมามกะ  แปลว่า  ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน ดังนั้นการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ  จึงหมายถึง  การประกาศตนของผู้แสดงว่าเป็นผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าเป็นของตน โดยการปฏิญาณตนเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนาไม่จำเป็นต้องทำเฉพาะคราวเดียว สามารถทำซ้ำ ๆ ตามกำลังแห่งศรัทธาและความเลื่อมใสก็ได้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

                   ส ๑.2 ม.๓/6    แสดงตนเป็นพุทธมามกะหรือแสดงตนเป็นศาสนิกชนของศาสนาที่ตนนับถือ

จุดประสงค์การเรียนรู้

-  ด้านความรู้

  1. อธิบายความหมายและความสำคัญของการแสดงตนเป็นพุทธมามกะได้

-  ด้านทักษะกระบวนการ

  1. ประยุกต์ใช้หลักปฏิบัติในการแสดงตนเป็นพุทธมามกะกับชีวิตประจำวันของตนเองได้

-  ด้านคุณลักษณะคุณลักษณะอันพึงประสงค์

  1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
  2. ใฝ่เรียนรู้
  3. รักความเป็นไทย

-  คุณลักษณะเฉพาะ

  1. เห็นความสำคัญของการแสดงตนเป็นพุทธมามกะในฐานะพิธีกรรมสำคัญในพระพุทธศาสนาโดยสังเกตจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและการจดบันทึก

การวัดผลและประเมินผล

การประเมินผล

วิธีการวัด

-  ตั้งคำถามนำและให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย

เครื่องมือวัด

-  แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง สืบสานหลักคำสอน
ชั่วโมง สืบสานหลักคำสอน
เรื่อง การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ 17 ก.ค. 67