สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

แสงเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปอีกตัวกลางหนึ่ง อัตราเร็วของแสงจะเปลี่ยนไป ซึ่งแสงอาจเปล่ียนทิศทางการเคลื่อนที่ได้ เรียกว่า การหักเหของแสง ถ้าแสงเคลื่อนที่จากตัวกลางที่แสงมีอัตราเร็วน้อยกว่าไปยังตัวกลางที่แสงมีอัตราเร็วมากกว่า รังสีหักเหจะเบนออกจากเส้นแนวฉาก มุมหักเหของแสงจะกางกว้างกว่ามุมตกกระทบ ดังนั้นถ้าเพิ่มมุมตกกระทบมากขึ้น จะมีโอกาสที่มุมหักเหจะมากขึ้นจนถึง ๙๐ องศา และถ้ามุมตกกระทบยังคงเพิ่มขึ้นไปอีกแสงจะสะท้อนกลับไปยังตัวกลางเดิม เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า การสะท้อนกลับหมด 

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- อธิบายสะท้อนกลับหมดของแสงเมื่อผ่านตัวกลางโปร่งใส

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          - การสังเกต การเปลี่ยนแนวการเคลื่อนที่ของแสงเมื่อแสงเคลื่อนที่ไปยังรอยต่อของตัวกลางโปร่งใส ๒ ชนิด ที่มุมตกกระทบหนึ่งแสงไม่ผ่านเข้าไปในอีกตัวกลางแต่เกิดการสะท้อนกลับหมด

          - การวัด วัดมุมที่รังสีตกกระทบทำกับเส้นแนวฉาก แล้วเกิดการสะท้อนกลับ

          - การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยแปลความหมายข้อมูลจากการทดลอง และลงข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวกลางของแสง มุมตกกระทบ และการสะท้อนกลับหมด

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

          - วัตถุวิสัย โดยแปลความหมายข้อมูลสอดคล้องกับหลักฐานอย่างเที่ยงตรง

          - ความอยากรู้อยากเห็น โดยกระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัยในการทำกิจกรรม

          - ความมุ่งมั่นอดทน โดยตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐานนำไปสู่การอธิบาย ลงข้อสรุป และทำให้งานสำเร็จ

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

           - การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมุมตกกระทบกับการสะท้อนกลับหมด และนำไปใช้อธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดการสะท้อนกลับหมด

          -  การแปลความหมายข้อมูลและใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเกี่ยวกับการสะท้อนกลับหมด เมื่อแสงเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งแล้วเกิดการสะท้อนกลับหมด

 

การวัดผลและประเมินผล

การประเมินผล

วิธีการ

1. การตอบคำถามในใบงานเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของแสงจากตัวกลางหนึ่งไปอีกตัวกลางโปร่งใสแล้วเกิดการสะท้อนกลับหมดอย่างถูกต้อง 

2. การสังเกต การบันทึกผลกิจกรรม มีความละเอียดรอบคอบและไม่ใส่แนวคิดผู้สังเกต เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของแสงระหว่างตัวกลางที่เกิดการสะท้อนกลับหมด
3. การวัด จากการบันทึกผลกิจกรรม โดยใช้เครื่องมือวัดมุมตกกระทบและมุมหักเหออกมาและบันทึกค่าตัวเลขและระบุหน่วยการวัดได้ถูกต้องและรวดเร็ว

4. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการบันทึกผลกิจกรรมและตอบคำถามในใบงาน โดยแปลความหมายข้อมูลและลงข้อสรุปความสัมพันธ์ระหว่างมุมตกกระทบกับการสะท้อนกลับเพื่ออธิบายการสะท้อนกลับหมดของแสง

5. วัตถุวิสัย จากการบันทึกผลและการตอบคำถามในใบงานที่สะท้อนความสอดคล้องของหลักฐานและการแปลความหมายที่เที่ยงตรง

6. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็นในการทำงานและผลของทำกิจกรรม 

7. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงความมุ่งมั่นอดทนเพื่อทำงานระหว่างทำกิจกรรม และทำให้งานประสบความสำเร็จ

8. การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการบันทึกผลการการทำกิจกรรม สร้างคำอธิบายเกี่ยวกับการสะท้อนกลับหมดของแสง นำไปอธิบายการส่งสัญญาณแสงในใยแก้วนำแสง หรือความแวววาวของเพชรได้ถูกต้อง

9. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงาน วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลผลการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเกี่ยวกับการสะท้อนกลับหมดของเสงเมื่อมุมตกกระทบหนึ่งแล้วแสงไม่เกิดการหักเหแต่เกิดการสะท้อนกลับหมด สะท้อนความสัมพันธ์ของข้อมูลและหลักฐาน

เครื่องมือ

          1. ใบงานที่ 2 การสะท้อนกลับหมดของแสงเป็นอย่างไร       

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง แสง
ชั่วโมง แสง
เรื่อง การหักเหของแสง (2) 26 ก.ค. 67 (มีใบงาน ใบความรู้)