ภาพจากกระจกเงาเกิดจากวัตถุตกกระทบกระจกแล้วสะท้อนตามกฎการสะท้อนของแสง เมื่อรังสีของแสงตัดกันจะเกิดภาพ โดยถ้ารังสีสะท้อนตัดกันจริงจะเกิดภาพจริง ถ้ารังสีสะท้อนที่ตัดกันเกิดจากการต่อแนวรังสีออกไปตัดกันจะเกิดภาพเสมือน การเกิดภาพจากกระจกเงาราบเป็นภาพเสมือนที่มีขนาดเท่ากับวัตถุ มีระยะภาพเท่ากับระยะวัตถุ
ด้านความรู้
- อธิบายกฎการสะท้อนของแสง
ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- การสังเกต โดยสังเกตรังสีของแสง ตำแหน่งการตกกระทบและสะท้อน และการทำมุมกับเส้นแนวฉาก
- การตั้งสมมติฐาน โดยคิดคำตอบล่วงหน้าสำหรับการทดลองเพื่ออธิบายกฎการสะท้อนของแสง
- การกำหนดและควบคุมตัวแปร โดยกำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุม ให้สอดคล้องกับสมมติฐานการทดลองเพื่อศึกษาและอธิบายกฎการสะท้อนของแสง
- การทดลอง โดยออกแบบการทดลอง ดำเนินการทดลองและบันทึกผลการทดลอง ด้วยวิิธีการที่เหมาะสมเพื่อศึกษาและอธิบายกฎการสะท้อนของแสง
- การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยแปลความหมายข้อมูลจากการทดลอง และลงข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เป็นไปตามกฎการสะท้อนของแสง
ด้านจิตวิทยาศาสตร์
- วัตถุวิสัย โดยแปลความหมายข้อมูลสอดคล้องกับหลักฐานอย่างเที่ยงตรง
- ความอยากรู้อยากเห็น โดยกระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัยในการทำกิจกรรม
- ความมุ่งมั่นอดทน โดยตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐานนำไปสู่การอธิบาย ลงข้อสรุป และทำให้งานสำเร็จ
ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
- การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับกฎการสะท้อนของแสงจากความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่เกิดขึ้นในปรากฎการณ์การสะท้อนของแสง
- การประเมินและการออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยออกแบบการทดลองเพื่อศึกษา และอธิบายความสัมพันธ์ของมุมตกกระทบและมุมสะท้อนตามกฎการสะท้อนของแสง
- การแปลความหมายข้อมูลและใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์และแปลงความหมายข้อมูลจากผลการทดลอง และลงข้อสรุปของกฎการสะท้อนของแสง
วิธีการ
1. การตอบคำถามในใบงานเกี่ยวกับการสะท้อนของแสงอย่างถูกต้อง
2. การทำแบบฝึกหัดเรื่องการสะท้อนของแสงอย่างถูกต้อง
3. การสังเกต การบันทึกผลกิจกรรม มีความละเอียดรอบคอบและไม่ใส่แนวคิดผู้สังเกต เกี่ยวกับรังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน มุมตกกระทบ และมุมสะท้อน
4. การตั้งสมมติฐาน ดูการบันทึกในใบงานว่าสมมติฐานเป็นคำตอบที่คิดล่วงหน้าก่อนทำการทดลองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวแปรเพื่ออธิบายการสะท้อนของแสง
5. การกำหนดและควบคุมตัวแปร ดูจากการบันทึกในใบงานว่ากำหนดตัวแปรที่กำหนดสอดคล้องกับสมมติฐานและควบคุมตัวแปรอย่างเหมาะสมเพื่อให้ได้ส่งผลต่อผลการทดลองอย่างเท่าเทียม
6. การทดลอง ดูการบันทึกในใบงานมีการออกแบบการทดลองอย่างรอบคอบ สอดคล้องคำถามและ สมมติฐาน ดำเนินการทดลองได้ตามแผน รวมทั้งบันทึกผลที่เป็นหลักฐานได้ครบถ้วน
7. การแปลความหมายและลงข้อสรุป ดูการบันทึกผลและตอบคำถามในใบงานว่าแปลความหมายข้อมูลและลงข้อสรุปที่เป็นความสัมพันธ์ของข้อมูลระหว่างมุมตกกระทบกับมุมสะท้อนเพื่ออธิบายการสะท้อนของแสง
8. วัตถุวิสัย จากการบันทึกผลและการตอบคำถามในใบงานที่สะท้อนความสอดคล้องของหลักฐานและการแปลความหมายที่เที่ยงตรง
9. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็นในการทำงานและผลของทำกิจกรรม
10. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงความมุ่งมั่นอดทนเพื่อทำงานระหว่างทำกิจกรรม และทำให้งานประสบความสำเร็จ
เครื่องมือ
1. ใบกิจกรรมที่ 2 ภาพในกระจกเงาราบเกิดขึ้นได้อย่างไร
2. ใบงานที่ 2 ภาพในกระจกเงาราบเกิดขึ้นได้อย่างไร
3. ใบความรู้ที่ 2 การเกิดภาพในกระจกเงาราบ