สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ความดันของของเหลว คือ แรงที่ของเหลวกระทำต่อพื้นที่หนึ่งหน่วย ความดันของของเหลวขึ้นกับความลึกจากผิวของเหลวและความหนาแน่นของของเหลว โดยเมื่อระดับความลึกจากผิวของเหลวเพิ่มขึ้น

ความดันของของเหลวจะเพิ่มขึ้น และเมื่อความหนาแน่นของของเหลวเพิ่มขึ้นความดันของของเหลวจะเพิ่มขึ้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 2.2 ม.2/4 – 2/5

 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

๑. เขียนภาพและอธิบายแรงของของเหลวที่กระทำต่อวัตถุ

๒. บอกความหมายและอธิบายความดันของของเหลว

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. การสังเกต โดยสังเกตการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของถุงพลาสติกหรือลูกโป่ง และการเคลื่อนที่ของของเหลวที่ออกจากขวดพลาสติก

๒. การวัด โดยวัดความลึกของของเหลว วัดระยะทางที่ของเหลวเคลื่อนที่

๓. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยแปลความหมายข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการอภิปราย และลงข้อสรุปเกี่ยวกับแรงที่ของเหลวกระทำต่อวัตถุ

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

              ๑. อยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัยในการทำกิจกรรม

๒. ความมุ่งมั่นอดทน ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐาน นำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป

๓. วัตถุวิสัย แปลความหมายข้อมูลสอดคล้องกับหลักฐานอย่างเที่ยงตรง

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

๑. การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ สร้างคำอธิบายเกี่ยวกับแรงของของเหลว จากเท็จจริงและการสืบเสาะหาความรู้

๒. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเพื่ออธิบายแรงที่ของเหลวกระทำต่อวัตถุ

ด้านความรู้ ประเมิน

๑. การนำเสนอผลงาน และแสดงความเห็นระหว่างเรียนมีความถูกต้องของเนื้อหา

๒ การบันทึกและตอบคำถามในใบงาน เขียนภาพและอธิบายแรงและความดันของของเหลวอย่างถูกต้อง

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ประเมิน

๑. การสังเกต จากการบันทึกแรงกระทำและการเปลี่ยนแปลงของวัตถุอย่างละเอียด โดยไม่เติมความเห็นของผู้สังเกตลงไป

๒. การวัด จากการบันทึกผล วัดระดับความลึกและระยะทางการเคลื่อนที่อย่างเหมาะสม

๓. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการบันทึกผลและตอบคำถามในใบงาน โดยแปลความหมายและสร้างข้อสรุปอธิบายแรงที่ของเหลวกระทำต่อวัตถุและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลและหลักฐาน

ด้านจิตวิทยาศาสตร์ ประเมิน

๑. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็นในการทำงานและผลของทำกิจกรรม

๒. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงความมุ่งมั่นอดทนเพื่อทำงานระหว่างกิจกรรม และทำให้งานประสบความสำเร็จ

๓. วัตถุวิสัย จากการบันทึกผลและการตอบคำถามในใบงานที่สะท้อนความสอดคล้องของหลักฐานอย่างเที่ยงตรง

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน ประเมิน

๑. การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับแรงที่ของเหลวกระทำต่อวัตถุและความดันของของเหลวจากเท็จจริงและการสืบเสาะหาความรู้

             ๒. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามใน  ใบงาน  วิเคราะห์  แปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเกี่ยวกับแรงของของเหลวที่กระทำต่อวัตถุ และความดันของของเหลว

การวัดผลและประเมินผล

- ใบกิจกรรมที่ 1 ของเหลวมีแรงกระทำต่อวัตถุหรือไม่ อย่างไร

- ใบงานที่ 1 ของเหลวมีแรงกระทำต่อวัตถุหรือไม่ อย่างไร

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 แรงรอบตัว
ชั่วโมง แรงรอบตัว
เรื่อง แรงลัพธ์กับการเคลื่อนที่ของวัตถุ (3) 19 ก.ย. 67 (มีใบงาน ใบความรู้)