การที่อากาศเข้าและออกจากปอดได้นั้น เนื่องจากการทำงานร่วมกันของกะบังลมและกระดูกซี่โครง โดยเมื่อกล้ามเนื้อกะบังลมหดตัวจะทำให้กะบังลมลดต่ำลง ในขณะที่กล้ามเนื้อระหว่างกระดูกซี่โครงหดตัว
จะทำให้กระดูกซี่โครงยกตัวขึ้นส่งผลให้ช่องอกมีปริมาตรเพิ่มขึ้นและความดันภายในช่องอกลดลง อากาศจากภายนอกจึงเคลื่อนที่เข้าสู่ปอด เป็นการหายใจเข้า(inhalation) ในทางกลับกันเมื่อกล้ามเนื้อกะบังลม
คลายตัวจะทำให้กะบังลมยกตัวสูงขึ้น ในขณะที่กล้ามเนื้อระหว่างกระดูกซี่โครงคลายตัวจะทำให้กระดูกซี่โครงลดต่ำลง ส่งผลให้ช่องอกมีปริมาตรลดลง และความดันภายในช่องอกเพิ่มขึ้น อากาศจึงเคลื่อนที่
ออกจากปอดเป็นการหายใจออก (exhalation) ดังภาพที่ 1
ตัวชี้วัด
ว 1.2 ม.2/5
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
2. อธิบายกลไกการหายใจเข้าและการหายใจออก โดยเทียบเคียงแบบจำลองการทำงานของปอด
ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. การลงความเห็นจากข้อมูล นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตแบบจำลองการทำงานของปอดและใบความรู้ มาอธิบายกลไกการหายใจเข้าและการหายใจออก
ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
1. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตแบบจำลองการทำงานของปอดและใบความรู้มาอธิบายกลไกการหายใจเข้าและการหายใจออก8.การประเมินผล
ด้านความรู้โดยประเมินจาก
1. อธิบายกลไกการหายใจเข้าและการหายใจออก โดยเทียบเคียงแบบจำลองการทำงานของปอด
ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก
1. การตอบคำถาม การนำเสนอ และการอภิปราย โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตแบบจำลองการทำงานของปอดและใบความรู้มาอธิบายกลไกการหายใจเข้าและการหายใจออกได้อย่างถูกต้อง
ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน โดยประเมินจาก
1. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยตอบคำถามและอภิปรายโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตแบบจำลองการทำงานของปอด และใบความรู้มาอธิบายกลไกการหายใจเข้า และการหายใจออกได้อย่างถูกต้อง
เครื่องมือ
- ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง การหายใจเข้าออก
- ใบกิจกรรมที่ 1 การหายใจเข้าและการหายใจออกเกิดขึ้นได้อย่างไร
- ใบงานที่ 2 กลไกการหายใจและการเข้าหายใจออก