อากาศจากภายนอกจะเคลื่อนที่เข้าสู่ร่างกายทางรูจมูก ภายในจมูกมีความชุ่มชื้น มีเมือก และมีเส้นขนขนาดเล็กที่ช่วยดักจับฝุ่นละอองในอากาศ จากนั้นอากาศจะเคลื่อนเข้าสู่ท่อลม (trachea)
ที่มีลักษณะเป็นท่อกลวง และเข้าสู่หลอดลม(bronchus) ซึ่งจะแตกแขนงเป็นหลอดลมฝอยขนาดเล็กแทรกอยู่ในปอด (lung) ทั้ง 2 ข้าง ปลายสุดของหลอดลมฝอยจะมีถุงลม (alveolus)
ซึ่งเป็นถุงลมเล็ก ๆ มีผนังบางและมีจำนวนมากหลายล้านถุง นอกจากนี้ยังมีอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหายใจคือ กระดูกซี่โครง (rib) โอบล้อมปอดทั้ง 2 ข้างไว้และกะบังลม (diaphragm)
ซึ่งเป็นแผ่นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่อยู่ด้านล่างกั้นระหว่างช่องอกกับช่องท้อง ดังภาพที่ 1
ตัวชี้วัด
ว 1.2 ม.2/5
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
1. ระบุอวัยวะและบรรยายหน้าที่ของอวัยวะที่เกี่ยวข้องในระบบหายใจ
2. อธิบายกลไกการหายใจเข้าและการหายใจออก โดยเทียบเคียงแบบจำลองการทำงานของปอด
ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. การสังเกต สังเกตแบบจำลองการทำงานของปอด
2. การลงความเห็นจากข้อมูล นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตแบบจำลองการทำงานของปอดและใบความรู้ มาอธิบายกลไกการหายใจเข้าและการหายใจออก
ด้านจิตวิทยาศาสตร์
1. ความอยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้นในการสังเกตแบบจำลองการทำงานของปอด
วิธีการ
ด้านความรู้ โดยประเมินจาก
1. การตอบคำถามและการอภิปรายเกี่ยวกับอวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะที่เกี่ยวข้องในระบบหายใจ
2. การบันทึกผลสังเกต การนำเสนอ และการอภิปรายเพื่ออธิบายกลไกการหายใจเข้าและการหายใจออก โดยเทียบเคียงแบบจำลองการทำงานของปอด
ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก
1. การบันทึกผลการสังเกตแบบจำลองการทำงานของปอดตามความเป็นจริง
2. การตอบคำถาม การนำเสนอ และการอภิปราย โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตแบบจำลองการทำงานของปอดและใบความรู้มาอธิบายกลไกการหายใจเข้าและการหายใจออกได้อย่างถูกต้อง
ด้านจิตวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก
1. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความกระตือรือร้นในการสังเกตแบบจำลองการทำงานของปอด
เครื่องมือ
- ใบความรู้ เรื่อง อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ
- ใบกิจกรรมที่ 1 การหายใจเข้าและการหายใจออกเกิดขึ้นได้อย่างไร