สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

แหล่งน้ำใต้ดินเกิดจากการซึงลงไปของน้ำผิวดินลงไปสะสมใต้ผิวโลกซึ่งแบ่งเป็นน้ำใต้ดินและน้ำบาดาล น้ำในนดินเป็นน้ำที่อยู่รวมกับอากาศตามช่องระหว่างเม็ดดิน

ส่วนน้ำบาดาลเป็นน้ำที่ไหลซึมลงไปและถูกกักเก็บไว้ในนชั้นหินหรือชั้นดินจึงอิ่มตัวไปด้วยน้ำ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 2.3 ม.2/8

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. อธิบายกระบวนการเกิดแหล่งน้ำใต้ดินจากแบบจําลอง

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1. การสังเกต เกี่ยวกับรายละเอียด เกี่ยวกับหินทรายและหินดินดาน และสังเกตลักษณะของน้ำที่ซึมผ่านหินทรายและหินดินดาน 

2. การพยากรณ์ เกี่ยวกับการไหลซึมของน้ำเมื่อหยดลงบนหินทรายและหินดินดาน

3. การลงความเห็นจากข้อมูล เกี่ยวกับกระบวนการเกิดแหล่งน้ำใต้ดินจากแบบจําลอง และการกักเก็บน้ำบาล

4. การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป จากการสังเกต จากการรวบรวมข้อมูล จากการอภิปรายและจากการสร้างแบบจําลอง เกี่ยวกับกระบวนการเกิดแหล่งน้ำใต้ดิน

5. การสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายกระบวนการ เกิดแหล่งน้ำใต้ดิน

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

1. ความรอบคอบ ความละเอียดถี่ถ้วนในการทำกิจกรรม การวางแผนการทำกิจกรรม การตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์หรือ เครื่องมือต่าง ๆ รวมถึงการทำงานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย 

2. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน โดยใช้หลักฐานที่ได้จากการสังเกตและจากการสร้างแบบจำลองมาใช้สนับสนุนการอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการเกิดแหล่งน้ำใต้ดิน 

3. ความซื่อสัตย์ ในการเก็บรวบรวมหลักฐาน หรือข้อมูลต่าง ๆ จากการทำกิจกรรมให้มากที่สุด และเขียนหรือบอกข้อมูลที่ปรากฏตามความเป็นจริง 

4. วัตถุวิสัย การแปลความหมายข้อมูลให้ สอดคล้องกับหลักฐานหรือข้อมูลอย่างเท่ียงตรง ไม่มีอคติ ไม่นําความเชื่อส่วนตัว หรือไม่ใส่ข้อคิดเห็นของตนเองในการแปลความหมายข้อมูล 

5. ความมุ่งมั่นอดทน โดยมุ่งมั่นตั้งใจในการ ทำกิจกรรม เพื่อนําไปสู่การอธิบายเกี่ยวกับ กระบวนการเกิดแหล่งน้ำใต้ดิน 

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

1. การสื่อสาร  โดยใช้ภาพ ข้อความ สัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่ออธิบายกระบวนการ เกิดแหล่งน้ำใต้ดิน 

2. อธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยการใช้ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและจากการสร้างแบบจําลองมาใช้แปลความหมายและอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการ เกิดแหล่งน้ำใต้ดิน

3. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์โดย การตีความหมาย

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

ด้านความรู้

          ประเมินจาก

1. การตอบคำถามในใบงาน เกี่ยวกับการไหล ซึมของน้ำไปสะสมตัวบริเวณต่าง ๆ ภายใน กล่องพลาสติกและการเปลี่ยน แปลงต่าง ๆ เมื่อมีการดูดน้ำออกจากแก้วน้ำ การเชื่อมโยงความรู้จากการทำกิจกรรมไปสู่ปรากฏการณ์ในธรรมชาติ 

2. การนำเสนอผลการทำกิจกรรมเกี่ยวกับกระบวนการเกิดแหล่งใต้ดิน 

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  

ประเมิณจาก

1. การสังเกต จากการใช้ประสาทสัมผัสเก็บรายละเอียด เกี่ยวกับหินทรายและหินดินดาน และสังเกตลักษณะของน้ำ

2. การสร้างแบบจำลอง จากการใช้แบบจำลองอธิบายกระบวนการเกิดแหล่งน้ำใต้ดิน

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

โดยประเมินจาก

1. ความรอบคอบ ความละเอียดถี่ถ้วนในการทำกิจกรรม การวางแผนการทำกิจกรรม การตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์หรือ เครื่องมือต่าง ๆ รวมถึงการทำงานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย 

2. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน โดยใช้หลักฐานที่ได้จากการสังเกตและจากการสร้างแบบจำลองมาใช้สนับสนุนการอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการเกิดแหล่งน้ำใต้ดิน 

3. ความซื่อสัตย์ ในการเก็บรวบรวมหลักฐาน หรือข้อมูลต่าง ๆ จากการทำกิจกรรมให้มากที่สุด และเขียนหรือบอกข้อมูลที่ปรากฏตามความเป็นจริง 

4. วัตถุวิสัย การแปลความหมายข้อมูลให้ สอดคล้องกับหลักฐานหรือข้อมูลอย่างเท่ียงตรง ไม่มีอคติ ไม่นําความเชื่อส่วนตัว หรือไม่ใส่ข้อคิดเห็นของตนเองในการแปลความหมายข้อมูล 

5. ความมุ่งมั่นอดทน โดยมุ่งมั่นตั้งใจในการทำกิจกรรม เพื่อนําไปสู่การอธิบายเกี่ยวกับ กระบวนการเกิดแหล่งน้ำใต้ดิน 

ด้านสมรรถนะ

          โดยประเมินจาก

1. การสื่อสาร จากการใช้ภาพ ข้อความหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่ออธิบายกระบวนการเกิดแหล่งน้ำใต้ดินให้เข้าใจง่ายและถูกต้อง

2. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงาน และการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการเกิดแหล่งน้ำใต้ดิน

3. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์จากการตอบคำถามในใบงาน ซึ่งมีการตีความหมายข้อมูล วิเคราะห์และสร้างข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อมูล ที่ได้จากการสังเกตและจากการสร้างแบบจำลองในการอธิบายกระบวนการเกิดแหล่งน้ำใต้ดิน

เครื่องมือ

 - ใบงานที่ 1 แหล่งน้ำใต้ดินมีกระบวน การเกิดอย่างไร

- ใบความรู้ที่ 1 แหล่งน้ำใต้ดิน

- ใบงานที่ 2 ลักษณะของหินที่สามารถกักเก็บน้ำบาดาลไว้ได้เป็นอย่างไร

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 น้ำเพื่อชีวิต
ชั่วโมง น้ำเพื่อชีวิต
เรื่อง แหล่งน้ำใต้ดิน (2) 11 ก.ค. 67 (มีใบงาน ใบกิจกรรม และใบความรู้)