สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการเป็นบทพระราชนิพนธ์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลจากภาษาอังกฤษแล้วนำมาดัดแปลงเป็นโคลงสี่สุภาพ มีบทนำ 1 บท เนื้อเรื่อง 10 บท

และบทสรุป   1 บท เนื้อหากล่าวถึง “กิจ 10 ประการที่ผู้ประพฤติยังไม่เคยเสียใจ” เนื้อหาเป็นข้อแนะนำให้รู้จักอดกลั้นและไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนพูดหรือทำสิ่งใด ทั้งยังมีข้อแนะนำ ทั้งทางด้านมโนกรรม (การคิด)

วจีกรรม (การพูด) และกายกรรม (การกระทำ) ที่จะทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติตามไม่ต้องเสียใจ เพราะสิ่งที่ตนคิด พูด หรือกระทำ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

  1. บอกที่มาและความสำคัญของวรรณคดีเรื่องโคลงสุภาษิตนฤทุมนาการได้
  2. บอกความหมายของคำศัพท์โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการได้

ด้านทักษะกระบวนการ

  1. ถอดคำประพันธ์ของวรรณคดีเรื่องโคลงสุภาษิตนฤทุมนาการได้

ด้านคุณลักษณะ

 - คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. มุ่งมันในการทำงาน

2. รักความเป็นไทย

      - คุณลักษณะเฉพาะ

1. เห็นคุณค่าวรรณคดี และลักษณะคำประพันธ์ไทย

  2. รักความเป็นไทย

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- ตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันตอบ

- การตรวจใบงานที่ 9 เรื่อง หาคู่ให้พบจะไม่ประสบความเสียใจ

เครื่องมือ

- คำถาม

- ใบงาน

- ใบความรู้

- แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ
ชั่วโมง โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ
เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ (1) 15 ส.ค. 67 (มีใบความรู้ สื่อกิจกรรม)