สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การโน้มน้าวใจเป็นการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และการกระทำของบุคคลอื่น โดยมีทั้งเจตนาที่ดีและไม่ดี กลวิธีการโน้มน้าวใจและภาษาที่ใช้ในการโน้มน้าวใจแตกต่างกันไปตามสถานการณ์

เมื่อผู้เรียนได้เรียนเรื่องนี้จะสามารถเลือกรับสารโน้มน้าวใจได้อย่างมีวิจารณญาณ และสามารถพูดโน้มน้าวใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

  1. บอกความหมายของการโน้มน้าวใจได้
  2. บอกกลวิธีในการโน้มน้าวใจได้

ด้านทักษะกระบวนการ

1. พูดโน้มน้าวใจตามกลวิธีการโน้มน้าวใจได้

ด้านคุณลักษณะ

- คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. มีวินัย

2. มุ่งมั่นในการทำงาน

- คุณลักษณะเฉพาะ (ของแต่ละวิชา)

1. มีมารยาทในการฟัง  การดู  และการพูด

2.       ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมกลุ่ม

การวัดผลและประเมินผล

 วิธีการ

- ตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันตอบ

- การตรวจใบงานและการพูดโน้มน้าวใจตามหัวข้อที่กำหนด

 เครื่องมือ

- คำถาม

- ใบงาน

- ใบความรู้

- แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ
ชั่วโมง โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ
เรื่อง โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ 26 ก.ค. 67 (มีใบงาน ใบความรู้)