สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 เพลงกล่อมเด็กภาคใต้ เรียกว่า เพลงร้องเรือ เพลงช้าเรือ เพลงชาเรือ เพลงช้าน้อง เพลงชาน้อง สันนิษฐานว่ามาจากทำนองร้องที่ช้า ๆ เรื่อย ๆ เหมือนเรือที่แล่นไปเอื่อย ๆ อีกทั้งเปลที่เด็กนอนมีรูปร่างเหมือนเรือ คือ ใช้ผ้าผืนยาวหรือผ้าขาวม้าผูกชายไว้ทั้ง 2 ข้าง และโยงไว้คนละข้าง เมื่อนำเด็กลงนอนเวลาไกวก็มีเหมือนลำเรือ ส่วนคำว่า “ชา”มาจากคำว่า “บูชา” หมายถึง การสดุดี กล่อมขวัญ ยกย่อง เช่น ชาขวัญข้าว

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

 ท 5.1 ตัวชี้วัด ป.3/2

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

- บอกลักษณะของเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ได้

2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

- วิเคราะห์เนื้อหาเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ได้

3. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

- เห็นคุณค่าและความสำคัญของเพลงกล่อมเด็ก

การวัดผลและประเมินผล

 ประเมินผลการทำใบงานที่ 5 เรื่อง รอบรู้เพลงกล่อมเด็กภาคใต้

ปีการศึกษา 2566 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ 19 ชื่อหน่วย ครื้นเครงเพลงไทย
ชั่วโมง ชื่อหน่วย ครื้นเครงเพลงไทย
เรื่อง เพลงกล่อมเด็กภาคใต้ 1 มี.ค. 67 (มีใบงาน และใบความรู้)