สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 คำควบกล้ำแท้ (อักษรควบ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกัน เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผัน เป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า คำควบกล้ำแท้ในภาษาไทย แบ่งออกเป็น ร ควบ ล ควบ และ ว ควบ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

 ท 4.1 ตัวชี้วัด ป.3/1

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

- บอกลักษณะของคำควบกล้ำแท้ (ร ควบ) ได้ 

2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

1) อ่านออกเสียงคำควบกล้ำแท้ (ร ควบ) ได้

2) เขียนคำสะกดคำคำควบกล้ำแท้ (ร ควบ) ได้

3. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

- เห็นความสำคัญของคำควบกล้ำ

การวัดผลและประเมินผล

 ประเมินผลการทำใบงานที่ 6 เรื่อง ร ควบ สุขสันต์

ปีการศึกษา 2566 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ 17 ชื่อหน่วย ภาษาเพื่อการสื่อสาร
ชั่วโมง ชื่อหน่วย ภาษาเพื่อการสื่อสาร
เรื่อง คำควบกล้ำแท้ (ร ควบ) 6 ก.พ. 67 (มีใบงาน และใบความรู้)